การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบขนานระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์

ศ.กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์อย่างง่ายสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ เช่น เอาไปใช้ในการสร้างหุ่นยนต์ ฯลฯ ในแง่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างง่าย อาจใช้วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบขนานระหว่างแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ 8088 (แผงวงจรตัวหลัก) กับแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC16F627A (แผงวรจรตัวรอง) โดยแบ่งข้อมูลขนาด ๘ บิต ที่ถูกส่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนละ ๔ บิต …

เกษตรพันธสัญญากับการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตร

ศ. ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เกษตรพันธสัญญา (Contract farming) เริ่มมีการใช้เป็นครั้งแรกโดยบริษัทญี่ปุ่นที่เข้าไปทำธุรกิจในไต้หวันตั้งแต่ช่วงทศวรรษปี ค.ศ. ๑๙๓๐ เพื่อให้มีอุปทาน (Supply) และคุณภาพของผลผลิตเป็นไปตามที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม เกษตรพันธสัญญามักถูกกล่าวถึงในแง่ลบ โดยเฉพาะในแง่ของสัญญาที่ภาคอุตสาหกรรมเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว เกษตรพันธสัญญามีความสำคัญ ทั้งในด้านการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร ความมั่นคงของอุปทานที่จัดส่งเข้าสู่ระบบการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งการควบคุมต้นทุนการผลิตไม่ให้แปรปรวนภายใต้ความไม่แน่นอนต่าง ๆ

สถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย

ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัณโรค (Tuberculosis: TB) อาจจัดได้ว่าเป็นโรคอุบัติซ้ำ (Re-emerging disease) โดยเหตุที่เคยเป็นปัญหาด้านสุขภาพของโลกและของประเทศไทย แต่จากการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนดำเนินการรักษา ควบคุมโรคด้วยยาและวัคซีนจนประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคและลดระดับความสำคัญของภาวะโรคนี้ลงไปได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลาประมาณ ๑๐ ปีที่ผ่านมา วัณโรคกลับกลายมาเป็นปัญหาสุขภาพระดับโลกอีกครั้ง รวมทั้งเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทยด้วย

การศึกษา: ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาจริงหรือ?

รศ. ดร.อนุมงคล ศิริเวทิน นักวิชาการอิสระ ศ. ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากการศึกษาเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาคุณภาพของพลเมืองของประเทศดังนั้นการที่ประเทศไทยไม่พัฒนาก้าวหน้าไปถึงจุดที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นศักยภาพที่แท้จริงของประเทศ ก็น่าจะมีสาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาในการจัดการการศึกษา นอกจากนี้ ยังมีบุคคลอีกหลายกลุ่มที่กล่าวว่าสาเหตุสำคัญของความบกพร่องก็คือการที่ประเทศไทยมีการจัดการการศึกษาที่สร้างความเหลื่อมล้ำอย่างไม่เป็นธรรมการบรรยายในครั้งนี้จึงขอนำเสนอเหตุผลที่แสดงว่าความเชื่อเช่นนั้นเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องตรงประเด็นและไม่น่าจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลดีสูงสุดต่อประเทศได้

บล็อกวงจรขยายผลต่างสัญญาณกระแสต่อเรียงด้วยบัฟเฟอร์

ศ. ดร.วัลลภ สุระกำพลธร ภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ วงจรประมวลผลสัญญาณแอนะล็อก (analog signal processing) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญของระบบการประมวลผลสัญญาณ ทั้งนี้ เนื่องมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอยู่ในรูปแบบแอนะล็อกเกือบทั้งหมด โดยในการประมวลผล ปรากฏการณ์ทางกายภาพจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าด้วยตัวรับรู้ (sensor) แต่เนื่องจากขนาดของสัญญาณยังมีอาจขนาดเล็กและอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีสัญญาณรบกวน (noise) มาก จึงต้องทำการประมวลผลทางแอนะล็อกเสียก่อน ซึ่งอาจทำได้โดยการขยาย (amplify) ให้สัญญาณมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือทำการกรอง (filter) …

การลดสารพิษปนเปื้อนในผักและผลไม้ก่อนการบริโภค

ศ. ดร.สายชล เกตุษา ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปัจจุบันการพัฒนาระบบการปลูกพืชและการดูแลพืชเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับการเกษตรในอดีต ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และจากการปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำในที่เดิมเป็นเวลานาน ทำให้สภาพของดินเสื่อมโทรม ตลอดจนมีโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องพึ่งการใช้สารเคมี ซึ่งรวมถึงปุ๋ยเคมีและสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมากยิ่งขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันจะมีระบบการปลูกพืชแบบใหม่เกิดขึ้นมากมาย รวมถึงระบบการปลูกพืชที่ไม่มีการใช้สารเคมี หรือการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลดการใช้สารเคมีและรักษาสภาพแวดล้อม แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙

ความหลากหลายทางชีวภาพและการเลี้ยงผึ้งในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

ศ. ดร.สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ มิน อู เหลียง หลักสูตรสหวิทยาการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์นับเป็นประเทศหนึ่งที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในระดับสูง โดยเฉพาะในแง่ของความหลากหลายทางชีวภาพของผึ้ง โดยจากการสำรวจ พบว่ามีผึ้งในสกุล Apis ทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ A. andreniformis, A. florea, A. …

ระบบบริหารคุณภาพ ISO ๙๐๐๐ : ๒๐๑๕

ศ. ดร.ปารเมศ ชุติมา ภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบบบริหารคุณภาพ ISO ๙๐๐๐ เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบคุณภาพ และได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๘๗ โดย International Organization for Standardization (ISO) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่พัฒนาและตีพิมพ์มาตรฐานต่าง ๆ ในระดับสากล (ปัจจุบันมีมาตรฐานต่าง ๆ แล้วมากกว่า …

พืชดัดแปรพันธุกรรม: เราจะไปทางไหนดี?

ศ. ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ GMO หรือ Genetically modified organisms ได้แก่ สิ่งมีชีวิต (พืช สัตว์ จุลินทรีย์) ที่ถูกดัดแปรพันธุกรรมด้วยกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม โดยตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติไม่ผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อให้สิ่งมีชีวิตนั้นมีคุณลักษณะหรือสมบัติตามที่ต้องการ ในส่วนของพืชดัดแปรพันธุกรรม (GM plant) นั้น หมายถึง …

การเรียนการสอนในยุคดิจิทัลเพื่อประเทศไทย 4.0

ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ประชาชาติแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศที่ลงทุนด้านการศึกษาสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวคือประมาณร้อยละ ๗๖ ของรายได้ ฯ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยกลับได้รับการจัดอันดับด้านการศึกษาในระดับที่ต่ำมาก (เช่น อยู่ในลำดับที่ ๘๖ จากประเทศที่เข้าร่วมรับการจัดอันดับ ๑๔๔ ประเทศทั่วโลก หรืออยู่ในลำดับที่ ๗ ในกลุ่มประเทศอาเซียน จากการจัดอันดับโดย …

การพัฒนาภาวะพลเมืองระดับโลก เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของมวลมนุษย์

ศ. ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ทุกวันนี้ความท้าทายต่าง ๆ ที่มนุษย์ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะในแง่ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขยายตัวของประชากรเมือง และภัยธรรมชาติ มิได้ถูกจำกัดอยู่เฉพาะในประเทศใดประเทศหนึ่ง ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคโลกาภิวัตน์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งในโลกจะปรากฎต่อสายตาของคนทั้งโลกภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที นอกจากนี้ ประชาคมในประเทศต่าง ๆ จะมีความหลากหลาย ทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรม