เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy)

ศ. ดร.ศุภชัย ปทุมนากุลภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ Sharing Economy หรือเศรษฐกิจแบ่งปัน เป็นรูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) ใหม่ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 ตัวอย่างที่สำคัญของธุรกิจแบบ Sharing Economy คือ Uber และ airbnb เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของธุรกิจ คือการเชื่อมต่อผู้ซื้อและผู้ขายผ่าน Digital Platform …

การผลิตข้าวนึ่งโดยไม่ใช้ไอน้ำด้วยเทคนิคฟลูอิไดเซซันลมร้อน และฟลูอิไดเซวันลมร้อนร่วมกับไมโครเวฟ

สมชาติ โสภณรณฤทธิ์1 ราชบัณฑิตสมเกียรติ ปรัชญาถาวร2ธนิต สวัสดิเสวี1และอีลีหย๊ะ สนิโซ1 คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ข้าวนึ่งเป็นที่นิยมบริโภคกันในหลายประเทศและเป็นสินค้าส่งออกด้านการเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย กรรมวิธีการผลิตข้าวนึ่งโดยทั่วไป เริ่มจากการแช่ข้าวเปลือกที่มีปริมาณอะมิโลสสูง ในน้ำร้อน 80C นานประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำเข้าหม้อนึ่งด้วยไอน้ำที่มีความดันสูงกว่าบรรยากาศเล็กน้อย นานประมาณ 10 – 15 นาที …

การปฏิรูประบบการบริการสุขภาพคนไทย

สรุปการประชุมวิชาการเรื่องการปฏิรูประบบการบริการสุขภาพคนไทยหนังสือสรุปการประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร ประจำปี ๒๕๖๑สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภาเมื่อวันพุธที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ

การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ: เครื่องมือสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อม

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยเริ่มมีรายงานปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กว่า ๔๐ ปีที่แล้วมา เช่น เหตุการณ์โรงงานน้ำตาลปล่อยส่าน้ำตาลลงในแม่น้ำแม่กลองในปี พศ. ๒๕๑๒ หรือกรณีปริมาณออกซิเจนในแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงเป็นอย่างมากตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้ จึงมีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมฉบับแรกในปี พศ. ๒๕๑๘ อย่างไรก็ตาม

การพัฒนาการผลิตเอทานอลโดยยีสต์ทนร้อน

ศ. ดร.สาวิตรี ลิ่มทอง ภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันการผลิตเอทานอลเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในประเทศไทยมักใช้เทคโนโลยีและยีสต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมักประสบปัญหาเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนตลอดปีของประเทศไทย โดยเฉพาะในฤดูร้อน ทั้งนี้ อุณหภูมิภายนอกมีผลต่ออุณหภูมิในถังหมัก โดยเมื่ออุณหภูมิสูงเกินไปจะทำให้ยีสต์ผลิตเอทานอลได้ต่ำลง นอกจากอุณหภูมิจากสภาวะแวดล้อมภายนอกแล้ว

น้ำแข็งติดไฟ

มนุวดี หังสพฤกษ์ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานนี้ มีรายงานที่เกี่ยวกับความสำเร็จในการผลิตก๊าซมีเทนจากมีเทนไฮเดรต (methane hydrate) หรือที่เรียกกันว่า “น้ำแข็งติดไฟ” ซึ่งแท้จริงแล้ว คือ โครงตาข่ายของโมเลกุลน้ำที่กักโมเลกุลของก๊าซมีเทนเอาไว้

การพิมพ์อาหารด้วยวิธีพิมพ์สามมิติสำหรับคนกลืนยาก : กรณีศึกษาเรื่องวิทยากระแส

ฐิติกานต์ ฉุยฉาย, พิชาภา ด้วงสงค์, อรัญ หาญสืบสาย, สุดา เกียรติกำจรวงศ์ (ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสภา ศีตะปันย์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ผู้สูงวัย ผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งในช่องปาก มักมีความยากลำบากในการกลืนน้ำและอาหารที่มีความหนืดต่ำ จึงจำเป็นต้องผลิตอาหารที่มีความหนืดสูง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรับอาหารทางสายยาง สภาพของอาหารที่มีความความหนืด (หรือความเข้มข้น) พอเหมาะรวมทั้งมีลักษณะการไหลที่ดี

วัคซีนป้องกันมะเร็ง

ศ. ดร. นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งสามารถจำแนกออกได้เป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ วัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน และวัคซีนที่ใช้ในการบำบัดรักษา โดยวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันเป็นวัคซีนที่ให้กับผู้ที่มีสุขภาพดี เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยเป็นการป้องกันร่างกายจากเชื้อไวรัสที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ ทั้งนี้ จำเป็นจะต้องได้รับวัคซีนก่อนการติดเชื้อไวรัสชนิดนั้น วัคซีนในกลุ่มนี้มีหลากหลายชนิด เช่น วัคซีน HBV (Hepatitis B virus) ที่ใช้ป้องกันมะเร็งตับที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบ …

ฆาตกรเงียบ

ศ. ดร. พญ.นิภา จรูญเวสม์ ภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ ความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือ สภาวะที่บุคคลมีความดันโลหิตเกิน ๑๒๙/๘๕ มิลลิเมตรปรอท ทั้งนี้ ประชากรส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าหากมีอาการความดันโลหิตสูงจะต้องมีอาการปวดศีรษะ หากไม่ปวดศีรษะ แสดงว่าความดันโลหิตไม่สูง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด อย่างไรก็ตาม เมื่ออวัยวะต่าง ๆ ถูกทำลายมากขึ้นจากความดันโลหิตที่สูงเกินกว่าปกติ จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น อัมพาต หัวใจวาย …