นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ด้านการจัดการภาษา

ศ. ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคงภาคีสมาชิก ปัจจุบัน ปี ๒๕๖๒ นี้ การพัฒนาด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติได้ก้าวหน้าไปหลายด้าน. โดยทั่วไปเราการจัดการภาษาธรรมชาติจะมีทั้งหมด ๔ โหมดด้วยกัน คือ โหมดข้อความ (Text): การสืบค้นและค้นคืนข้อมูล เสียงพูด (Speech): การพูดแล้วพิมพ์ พิมพ์แล้วพูด ภาพตัวอักษร (Character Image): การเข้าใจภาพตัวอักษรพิมพ์และเขียน เนื้อหาสาระ …

นวัตกรรมรูปแบบยาสำหรับผู้สูงอายุ

ศ. ดร. ภก.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ภาคีสมาชิก ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับการรักษาทางการแพทย์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผู้สูงอายุ และมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง อาทิ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูง ภาวะข้ออักเสบ และโรคเบาหวาน ทำให้ต้องได้รับยาหลายชนิดร่วมกันในการรักษา มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาจากการใช้ยาสูงขึ้น เช่น ปัญหาการให้ความร่วมมือในการใช้ยาและการได้รับผลข้างเคียงจากยา ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง ยาในรูปแบบรับประทานเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่นิยมใช้ในการรักษา แต่อาจเกิดปัญหาที่สำคัญในการบริหารยาในผู้สูงอายุ คือ ภาวะกลืนลำบาก จึงเป็นความท้าท้ายในการพัฒนารูปแบบให้มีความสะดวกในการใช้และมีประสิทธิภาพในการรักษา ในปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบยาชนิดรับประทานเพื่อให้สะดวกต่อการบริหารยาหลายรูปแบบ อาทิ …

การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ (Human Genome Editing)

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไลภาคีสมาชิก ประเภทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สาขาวิชาชีววิทยาระดับโมเลกุลเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 มีข่าวสำคัญทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่านักวิทยาศาสตร์ได้ทำ การเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ได้แล้ว โดยมีเด็กที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงยีนทำให้ ดื้อต่อการติดเชื้อ HIV ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เด็กแฝดดังกล่าวเกิดโดยวิธี in vitro fertilization ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีน CCR5 ข่าวดังกล่าวได้ทำให้เกิดความตื่นตัวอย่างมากในวงการวิจัย ทั้งในด้านเทคโนโลยีและด้านจริยธรรมการวิจัย โดยเฉพาะในประเด็นว่าสมควรจะทำการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของมนุษย์หรือไม่ …

เมแทบอลิซึมของแคลเซียมและกระดูกในโรคทาลัสซีเมีย

ศ. ดร. นพ.นรัตถพล  เจริญพันธุ์ภาคีสมาชิก ทาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยในประเทศไทย เกิดจากความผิดปรกติแต่กาเนิดของยีนแอลฟาโกลบิน หรือเบต้าโกลบิน เช่น สร้างโกลบินได้น้อย หรือสร้างไม่ได้เลย ซึ่งทาให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง ภาวะเหล็กเกิน และมีเหล็กส่วนเกินสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ตลอดจนโครงสร้างกระดูก และการเจริญเติบโตของกระดูกผิดปรกติ อย่างไรก็ตามเนื่องจากงานวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การศึกษาพยาธิกาเนิดและแนวทางการรักษาโลหิตจางในผู้ป่วยทาลัสซีเมีย หรือการแก้ไขความผิดปรกติของยีนโกลบิน ปัญหาด้านเมแทบอลิซึมของแคลเซียมและกระดูกจึงมีผู้ศึกษาไม่มากนัก ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา มีรายงานวิจัยจานวนหนึ่งที่นาไปสู่ข้อสรุปว่า ทาลัสซีเมียเป็นสาเหตุของภาวะกระดูกบาง (osteopenia) และโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) …

แนวทางการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่

ศ. ดร.อมเรศ  ภูมิรัตนราชบัณฑิต การวิจัยและพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะก่อให้เกิดนวตกรรม ซึ่งจะถูกพัฒนาต่อให้มีผลในเชิงการใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นผลให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติในที่สุด อย่างไรก็ดีงานวิจัยและพัฒนาจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องมีนักวิจัยที่สามารถสร้างกลุ่มวิจัยของตนเองได้ (เป็นนักวิจัยอิสระ independent researcher) มีการเชื่อมโยงงานวิจัยระดับนานาชาติและกับภาคเอกชน ตลอดจนสามารถแสวงหาแหล่งทุนวิจัยอย่างเพียงพอและอย่างต่อเนื่อง เป็นนักวิจัยที่มีทัศนคติและความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง หากประเทศไทยต้องการให้มีนักวิจัยชั้นนำในปริมาณที่มากพอแล้ว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแนวทางการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาประมาณ 5 ปีแรกหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาเอก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญยิ่งที่จะต้องมีการส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ให้เป็นนักวิจัยอาชีพที่ประสบผลสำเร็จสูง ในการบรรยายครั้งนี้จะมีการเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ของ 3 หน่วยงาน คือ …

การแตกตัวพอลิสไตรีนที่ใช้แล้วโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยากรด

อราดา วงศ์ศุภลักษณ์1 สมศักดิ์ ดารงค์เลิศ1,21 ภาควิชาเคมีเทคนิค ตณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย2 ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดกรด 3 ชนิด ได้แก่ ซีโอไลต์ชนิด HZSM-5, เหล็กบนถ่านกัมมันต์และ Co-MoบนAl2O3 นาตัวเร่งแต่ละชนิดมาผสมกับพอลิสไตรีนบรรจุลงในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กมีความจุ 75 มิลลิลิตร ปรับอุณหภูมิการทดลองตั้งแต่ 350 ถึง 400 องศาเซลเซียส …

ความหลากหลายและการพัฒนาเห็ดทรัฟเฟิลในประเทศไทย

ศ. ดร.สายสมร  ลำยองภาคีสมาชิก เห็ดทรัฟเฟิลเป็นเห็ดรับประทานได้และมีราคาแพงแพงที่สุดในโลก เนื่องจากนิเวศวิทยาของเห็ดชนิดนี้อยู่ใต้พื้นดินและต้องอาศัยร่วมกับพืชอาศัยเท่านั้นจึงมีโอกาสพบได้ยาก อีกทั้งมีกลิ่นที่เป็นเอกลักณ์ พืชอาศัยตามธรรมชาติของเห็ดทรัฟเฟิล ได้แก่พืชตระกูล โอ็ค บีช และสน การค้นหาเห็ดทรัฟเฟิลอาศัยสัญชาตญาณการดมกลิ่นของสุนัขและสุกรเท่านั้น เห็ดทรัฟเฟิลแท้ตามวิทยาศาสตร์จัดอยู่ในสกุล Tuber เท่านั้น เห็ดทรัฟเฟิลส่วนใหญ่กระจายอยู่ในทวีปยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชียในพื้นที่ภูมิอากาศแบบหนาว โดยไม่สามารถพบในพื้นที่ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ปัจจุบันมีการค้นพบเห็ดทรัฟเฟิลมากว่า 296 ชนิด แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่เป็นที่นิยมบริโภค ราคาของเห็ดทรัฟเฟิลนั้นอยู่ระหว่างหนึ่งหมื่นบาทจนถึงสองแสนบาทต่อกิโลกรัม …

บริโภคไข่ Eating Eggs

ผัสพร ผ่องมาลัยสักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยาสมชัย บวรกิตติ ผู้นิพนธ์สองคนแรกเป็นนักวิทยาศาสตร์อาหาร คนท้ายสุดเป็นอายุรแพทย์จึงถูกถามบ่อยว่า บริโภคไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นกกระทา อย่างไหนดี ไข่แดง ไข่ขาว มีคุณค่าทางอาหารแตกต่างกันอย่างไร ควรบริโภคไข่วันละกี่ฟอง มื้อไหนดี ในส่วนต่าง ๆ ของไข่มีสารอาหารอะไรบ้าง มากน้อยเท่าไร ไข่ดิบ ไข่สุก ไข่ลวก มีประโยชน์แตกต่างกันไหม …

กระบวนการคั่วกาแฟโดยใช้ไอน้ำร้อนยวดยิ่ง

ณฐมล จินดาพรรณ๑ และ สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา๒๑ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม๒ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ เมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้า (Robusta coffee beans, Coffea canephora) มีความขม แต่มีความเป็นกรด ความหวาน ตลอดจนสมดุลของรสชาติด้อยกว่าเมล็ดกาแฟพันธุ์อราบิก้า (Arabica coffee beans, …

สถานการณ์พลังงานไทยและการจัดการ

ศ. ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ราชบัณฑิต ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ประเทศไทยจัดหาพลังงานขั้นต้น ๑๓๖,๒๑๕ พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ โดยมีสัดส่วนการนำเข้ามากกว่าร้อยละ ๕๐ มีการแปรรูปซึ่งมีการสูญเสีย และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมอื่นส่วนหนึ่ง เหลือใช้ในรูปของพลังงานขั้นสุดท้าย ๘๐,๗๕๒ พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เมื่อจำแนกตามประเภทของพลังงานขั้นสุดท้ายที่ใช้ ที่สำคัญเป็นน้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ ๕๐.๑ ไฟฟ้าร้อยละ ๒๐.๕ พลังงานหมุนเวียนร้อยละ ๙.๑ หากจำแนกตามสาขาเศรษฐกิจพบว่า ใช้ในสาขาขนส่งร้อยละ …

กลวิธานการเกิดมลภาวะอากาศ PM2.5 ในประเทศไทย เดือนมกราคม ๒๕๖๒

ศ. ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุลราชบัณฑิต ช่วงเดือนมกราคม ๒๕๖๒ ที่ผ่านไป ได้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาด PM2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานบริเวณกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงอย่างน้อย ๑๒ จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง อยุทยา อ่างทอง และปราจีนบุรี ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ …

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔ และรูปแบบเศรษฐกิจใหม่

ศ. ดร.ศุภชัย  ปทุมนากุลภาคีสมาชิก ในปัจจุบัน โลกกำลังเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (The Fourth Industrial Revolution) ซึ่งเป็นการปฏิวัติที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งแตกต่างจากการปฏิวัติทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา ที่การเปลี่ยนแปลงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่การปฏิวัติครั้งที่ 4 นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและเป็นแบบเอกซ์โปเนนเชียล (Exponential) ที่รวดเร็วมาก นอกจากเทคโนโลยีที่เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 แล้ว ปัจจัยทาง …