การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ (Human Genome Editing)

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล
ภาคีสมาชิก ประเภทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สาขาวิชาชีววิทยาระดับโมเลกุล
เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 มีข่าวสำคัญทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่านักวิทยาศาสตร์ได้ทำ การเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ได้แล้ว โดยมีเด็กที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงยีนทำให้ ดื้อต่อการติดเชื้อ HIV ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เด็กแฝดดังกล่าวเกิดโดยวิธี in vitro fertilization ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีน CCR5 ข่าวดังกล่าวได้ทำให้เกิด
ความตื่นตัวอย่างมากในวงการวิจัย ทั้งในด้านเทคโนโลยีและด้านจริยธรรมการวิจัย โดยเฉพาะในประเด็นว่าสมควรจะทำการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของมนุษย์หรือไม่ อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยมิได้เปิดเผย รายละเอียดหรือตีพิมพ์ผลงานในเรื่องดังกล่าว ไม่สามารถพิสูจน์ว่าข่าวดังกล่าวเป็นเรื่องจริง และ มหาวิทยาลัยได้ไล่นักวิทยาศาสตร์ผู้ให้ข่าวดังกล่าวออกจากงาน และมีการถอนข้อมูลการขออนุญาตทำวิจัยออกจากฐานข้อมูลแล้ว ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดในด้านเทคโนโลยีการ เปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม โดยเฉพาะวิธี CRISPR/Cas9 (Clustered regularly interspaced short palindromic repeats และ CRISPR-associated protein 9) ซึ่งทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม ของสิ่งมีชีวิตในตำแหน่งยีนที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และมีราคาถูกกว่าวิธีการอื่นที่ใช้อย่างมาก CRISPR ได้ถูกนำ มาใช้อย่างกว้างขวางในการวิจัยและมีศักยภาพที่จะใช้ในทางคลินิก จนทำ ให้ นักวิทยาศาสตร์และแพทย์จำนวนมากเชื่อว่าจะสามารถใช้ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก เพื่อรักษาโรคใน มนุษย์ได้ในระยะเวลาอันใกล้ ทั้งนี้การใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมมีประเด็นทางจริยธรรมอีกมากที่ยังต้องอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อตกลงร่วมกันก่อนที่จะมีการใช้จริงทางการแพทย์

Academy of Science

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา

View all posts by Academy of Science →