บทคัดย่อ การบรรยายทางวิชาการของสมาชิกสํานักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑

ดาวน์โหลดหนังสือ บทคัดย่อ การบรรยายทางวิชาการของสมาชิกสํานักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑ ดาวน์โหลดปกหนังสือ บทคัดย่อ การบรรยายทางวิชาการของสมาชิกสํานักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑

นโยบายพลังงานเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกและมลพิษ

รายงานการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่องนโยบายพลังงานเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกและมลพิษโดยสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภาโครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สกว.

ความรู้จากประสบการณ์ : ด้านนโยบายเกษตรและอาหารจากจีนและอินเดีย เพื่อประโยชน์ของประเทศไทย

สรุปรายงานการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง“ความรู้จากประสบการณ์: ด้านนโยบายเกษตรและอาหารจากจีนและอินเดีย เพื่อประโยชน์ของประเทศไทย” จัดโดยโครงการอาศรมความคิดด้านอาหาร สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภาร่วมกับ มูลนิธิวิทยาศาสตร์การเกษตร วันศุกร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๐๐ น.ณ ห้องแมจิก ๒ ชั้น ๒ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

หนังสือปกขาว PM 2.5

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภาแห่งประเทศไทยได้มีการจัดตั้งอาศรมความคิดขึ้นมา ๔ ด้าน ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์ให้ราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ค้นคว้าวิจัยเชิงนโนบาย อำนาจหน้าที่ตามมาตร ๘ แห่งราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘

การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และปฎิรูปประเทศด้านการจัดการมลพิษอากาศ PM2.5 ทั้งระบบ

โครงการอาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมการเสวนา เรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และปฎิรูปประเทศด้านการจัดการมลพิษอากาศ PM2.5 ทั้งระบบ” จัดโดย สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา ร่วมกับ กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ คณะปฎิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วันศุกร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.ณ ห้องประชุมศรีสุริยวงศ์บอลรูม ชั้น11  โรงแรมตะวันนา ถนนสุรวงศ์ …

เปิดวงเสวนา ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและปฏิรูปประเทศ ด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ทั้งระบบ

จากสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน หรือปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นวงกว้าง ตลอดจนกระทบถึงภาพลักษณ์ของประเทศ ทั้งด้านการท่องเที่ยว และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปัญหาดังกล่าวจึงถูกยกขึ้นเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมหามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยในอนาคต คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมมือกับคณะปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และอาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ราชบัณฑิตยสภา จัดงานเสวนาในหัวข้อ “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและปฏิรูปประเทศด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ทั้งระบบ” เมื่อวันศุกร์ที่ …

นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ด้านการจัดการภาษา

ศ. ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคงภาคีสมาชิก ปัจจุบัน ปี ๒๕๖๒ นี้ การพัฒนาด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติได้ก้าวหน้าไปหลายด้าน. โดยทั่วไปเราการจัดการภาษาธรรมชาติจะมีทั้งหมด ๔ โหมดด้วยกัน คือ โหมดข้อความ (Text): การสืบค้นและค้นคืนข้อมูล เสียงพูด (Speech): การพูดแล้วพิมพ์ พิมพ์แล้วพูด ภาพตัวอักษร (Character Image): การเข้าใจภาพตัวอักษรพิมพ์และเขียน เนื้อหาสาระ …

นวัตกรรมรูปแบบยาสำหรับผู้สูงอายุ

ศ. ดร. ภก.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ภาคีสมาชิก ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับการรักษาทางการแพทย์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผู้สูงอายุ และมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง อาทิ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูง ภาวะข้ออักเสบ และโรคเบาหวาน ทำให้ต้องได้รับยาหลายชนิดร่วมกันในการรักษา มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาจากการใช้ยาสูงขึ้น เช่น ปัญหาการให้ความร่วมมือในการใช้ยาและการได้รับผลข้างเคียงจากยา ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง ยาในรูปแบบรับประทานเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่นิยมใช้ในการรักษา แต่อาจเกิดปัญหาที่สำคัญในการบริหารยาในผู้สูงอายุ คือ ภาวะกลืนลำบาก จึงเป็นความท้าท้ายในการพัฒนารูปแบบให้มีความสะดวกในการใช้และมีประสิทธิภาพในการรักษา ในปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบยาชนิดรับประทานเพื่อให้สะดวกต่อการบริหารยาหลายรูปแบบ อาทิ …

การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ (Human Genome Editing)

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไลภาคีสมาชิก ประเภทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สาขาวิชาชีววิทยาระดับโมเลกุลเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 มีข่าวสำคัญทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่านักวิทยาศาสตร์ได้ทำ การเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ได้แล้ว โดยมีเด็กที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงยีนทำให้ ดื้อต่อการติดเชื้อ HIV ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เด็กแฝดดังกล่าวเกิดโดยวิธี in vitro fertilization ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีน CCR5 ข่าวดังกล่าวได้ทำให้เกิดความตื่นตัวอย่างมากในวงการวิจัย ทั้งในด้านเทคโนโลยีและด้านจริยธรรมการวิจัย โดยเฉพาะในประเด็นว่าสมควรจะทำการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของมนุษย์หรือไม่ …

เมแทบอลิซึมของแคลเซียมและกระดูกในโรคทาลัสซีเมีย

ศ. ดร. นพ.นรัตถพล  เจริญพันธุ์ภาคีสมาชิก ทาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยในประเทศไทย เกิดจากความผิดปรกติแต่กาเนิดของยีนแอลฟาโกลบิน หรือเบต้าโกลบิน เช่น สร้างโกลบินได้น้อย หรือสร้างไม่ได้เลย ซึ่งทาให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง ภาวะเหล็กเกิน และมีเหล็กส่วนเกินสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ตลอดจนโครงสร้างกระดูก และการเจริญเติบโตของกระดูกผิดปรกติ อย่างไรก็ตามเนื่องจากงานวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การศึกษาพยาธิกาเนิดและแนวทางการรักษาโลหิตจางในผู้ป่วยทาลัสซีเมีย หรือการแก้ไขความผิดปรกติของยีนโกลบิน ปัญหาด้านเมแทบอลิซึมของแคลเซียมและกระดูกจึงมีผู้ศึกษาไม่มากนัก ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา มีรายงานวิจัยจานวนหนึ่งที่นาไปสู่ข้อสรุปว่า ทาลัสซีเมียเป็นสาเหตุของภาวะกระดูกบาง (osteopenia) และโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) …

แนวทางการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่

ศ. ดร.อมเรศ  ภูมิรัตนราชบัณฑิต การวิจัยและพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะก่อให้เกิดนวตกรรม ซึ่งจะถูกพัฒนาต่อให้มีผลในเชิงการใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นผลให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติในที่สุด อย่างไรก็ดีงานวิจัยและพัฒนาจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องมีนักวิจัยที่สามารถสร้างกลุ่มวิจัยของตนเองได้ (เป็นนักวิจัยอิสระ independent researcher) มีการเชื่อมโยงงานวิจัยระดับนานาชาติและกับภาคเอกชน ตลอดจนสามารถแสวงหาแหล่งทุนวิจัยอย่างเพียงพอและอย่างต่อเนื่อง เป็นนักวิจัยที่มีทัศนคติและความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง หากประเทศไทยต้องการให้มีนักวิจัยชั้นนำในปริมาณที่มากพอแล้ว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแนวทางการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาประมาณ 5 ปีแรกหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาเอก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญยิ่งที่จะต้องมีการส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ให้เป็นนักวิจัยอาชีพที่ประสบผลสำเร็จสูง ในการบรรยายครั้งนี้จะมีการเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ของ 3 หน่วยงาน คือ …