การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และปฎิรูปประเทศด้านการจัดการมลพิษอากาศ PM2.5 ทั้งระบบ

โครงการอาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
การเสวนา เรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
และปฎิรูปประเทศด้านการจัดการมลพิษอากาศ PM2.5 ทั้งระบบ”

จัดโดย สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา ร่วมกับ กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ คณะปฎิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันศุกร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.ณ ห้องประชุมศรีสุริยวงศ์บอลรูม ชั้น11  โรงแรมตะวันนา ถนนสุรวงศ์

อ่านรายงาน

หลักการและเหตุผล

ช่วงเดือนมกราคม ๒๕๖๒ ที่ผ่านไป ได้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาด PM2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานบริเวณกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงอย่างน้อย ๑๒  จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง อยุทยา อ่างทอง และปราจีนบุรี  ส่งผลกระทบเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพและสิ่งแวดล้อมกระทบการดำเนินชีวิตของประชาชนเป็นวงกว้างมากกว่า ๒๐  ล้านคน ทำให้ทุกภาคส่วนและรัฐบาลตื่นตัว ช่วยกันหาแนวทางลดผลกระทบและป้องกันปัญหาเหล่านี้ในอนาคต  ความจริงปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในประเทศไทยไม่ใช่เพิ่งจะเกิดขึ้น  ซึ่งจากข้อมูลพบว่าเคยเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี เช่นค่าที่ตรวจวัดได้โดยกรมควบคุมมลพิษใน กรุงเทพมหานครมีค่า PM2.5 สูงถึง ๑๑๒ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรใน พ.ศ. ๒๕๕๖ แต่ค่าที่ตรวจวัดได้สูงถึง  ๒๒๒ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในบริเวณริมถนนหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานครในเดือนมกราคม ๒๕๖๒  หรือ มีค่ามากกว่า ๓๐๐% ของค่ามาตรฐานประเทศที่ไม่เกิน ๕๐ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในอดีตปัญหามลพิษอากาศมักเป็นข่าวเป็นที่รับรู้ของประชาชนจะเกิดขึ้นในฤดูหนาวต่อฤดูร้อนเป็นประจำทุกปีโดยเฉพาะทางบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการเผาชีวมวลเกษตรในประเทศและในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นประจำทุกปี

ทั้งนี้กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร่วมกับคณะปฎิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและอาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ราชบัณฑิตยสภา มีความเห็นร่วมกันในการจัดเสวนาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมลพิษอากาศ PM2.5 ในหัวข้อเรื่อง  “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและปฎิรูปประเทศด้านการจัดการมลพิษอากาศ PM2.5 ทั้งระบบ”  เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการปฏิรูประบบการจัดการมลพิษอากาศของประเทศ เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM2.5 ในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบและการแก้ไขปัญหา PM2.5 ในพื้นที่จังหวัด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย
  2. เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการการศึกษาวิจัย ค้นคว้าหากลไก เฝ้าตรวจติดตามและเฝ้าระวังปัญหามลพิษอากาศทั้งระบบ รวมถึงการติดตั้งระบบเตือนภัยล้วงหน้า (Early Warning System) เพื่อแจ้งเตือนประชาชนและสังคมล่วงหน้าก่อนภัยจะมา และมีแผนรับมือปรับตัวต่อพิบัติภัยมลพิษอากาศทั้งระบบ ลดผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพทั้งระบบ
  3. นำผลที่ได้จากการเสวนาเสนอต่อรัฐบาล ให้มีแผนแม่บทแก้ไขที่เป็นรูปธรรมในระยะยาว โดยเฉพาะมาตรการป้องกันและลดมลพิษฝุ่น PM2.5 ของประเทศตั้งแต่แหล่งต้นกำเนิดในทุกมิติและทุกภาคส่วน เช่นภาคการขนส่งและคมนาคม ภาคอุตสาหกรรม  ภาคเกษตรกรรม  ภาคครัวเรือน และการแก้ปัญหาฝุ่นข้ามพรมแดน อีกทั้งแก้ปัญหาโดมความร้อนเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศ

การวัดผลสัมฤทธิ์

ตัวชี้วัดผลผลิต

ได้ข้อเสนอแนะที่เหมาะสมในการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมในระยะยาว โดยเฉพาะมาตรการป้องกันและลดมลพิษฝุ่น PM2.5 ของประเทศตั้งแต่แหล่งต้นกำเนิดในทุกมิติ

ตัวชี้วัดผลลัพธ์

ราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกของสำนักวิทยาศาสตร์ในประเภทวิชาและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า สาขาวิชาระบบโลกศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และผู้เข้าร่วมการเสวนา ได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบและการแก้ไขปัญหา PM2.5 ในพื้นที่จังหวัด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการเสวนา ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

กลุ่มเป้าหมาย

องค์กรระหว่างประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมลพิษทั้งระบบ ภาคส่วนต่าง ๆ เช่น อาจารย์  นักวิจัย และนิสิตมหาวิทยาลัย สื่อมวลชน และผู้ที่สนใจทั่วไป จำนวน ๑๕๐-๒๐๐ คน

๕. ระยะเวลาดำเนินการและสถานที่

วันศุกร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๘๐.๓๐-๑๖.๓๐ น.  ณ ห้องประชุมศรีสุริยวงศ์บอลรูม ชั้น11  โรงแรมตะวันนา ถนนสุรวงศ์

จัดเสวนาโดยวิทยากร จำนวน ๕ คน และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมการเสวนา

งบประมาณ

ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมทั้งสิ้น ๒๐๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๒๐๐ คน โดยงบประมาณจำนวน ๖๒,๖๐๐ บาทได้รับการสนับสนุนจากราชบัณฑิตยสภา

ผู้รับผิดชอบโครงการ

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา  และ กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  คณะปฎิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ราชบัณฑิตยสภา

กำหนดการ

8.00-9.00           ลงทะเบียน

9-00-9.05           กล่าวรายงาน โดย ศ.ดร. ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

9.05-9.10           กล่าวรายงาน โดย ดร.รอยล จิตรดอน ประธานคณะปฎิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

9.10-9.15 กล่าวต้อนรับ โดย ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ประธานอาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ราชบัณฑิตยสภา

9.15-9.45 กล่าวเปิดประชุมโดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

9.45-10.15 บรรยายพิเศษ เรื่อง ปรากฏการณ์ฝาชีอากาศผกผันคู่กับปัญหาPM2.5 ของประเทศไทยเดือนมกราคม 2562 โดย ศ.ดร. ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล  ประธานTGWA มูลนิธินภามิตร

10.15-10.30       พักรับประทานอาหารว่าง

10.30-12.00 เสวนา หัวข้อ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและปฎิรูปประเทศด้านการจัดการ   มลพิษอากาศ PM2.5 ทั้งระบบ

โดย

  • ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิช ประธานTDRI
  • ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
  • ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 และผู้แทนคณะปฎิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

12.00-13.00       พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-15.30         แบ่งกลุ่มย่อยระดมความเห็นแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและปฎิรูปประเทศด้านการจัดการมลพิษอากาศ PM2.5 ทั้งระบบ โดยแบ่งเป็น ๓ ห้องย่อยดังนี้:

ตารางการแบ่งกลุ่มย่อยระดมความเห็นแนวทางขับเคลื่อน

กลุ่มหัวข้อระดมความเห็น
กลุ่มย่อย ๑ ห้องศรีสุริยวงศ์บอลรูมมาตรการป้องกันและลดมลพิษฝุ่น PM2.5 ของประเทศจากการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง เช่น เผาขยะ เผาชีวมวลเกษตร และ มาตรการป้องกันและลดมลพิษฝุ่น PM2.5 ของประเทศจากแหล่งกำเนิดฝุ่นเมือง เช่นฝุ่นก่อสร้างและฝุ่นจากดินและถนน   โดยผู้แทนกรรมการปฎิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มย่อย ๒ ห้องสจ๊วตมาตรการป้องกันและลดมลพิษฝุ่น PM2.5 ของประเทศจากภาคอุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ้า และมาตรการป้องกันและลดมลพิษฝุ่น PM2.5 ของประเทศจากภาคขนส่ง การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์และไอเสียดีเซล จานผ้าเบรครถยนต์   โดยผู้แทนกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กลุ่มย่อย ๓ ห้องมูราโนมาตรการจัดการฝุ่นข้ามชาติ และเฝ้าตรวจติดตามและเฝ้าระวังปัญหามลพิษอากาศทั้งระบบ รวมถึงการติดตั้งระบบเตือนภัยล้วงหน้า (Early Warning System) เพื่อแจ้งเตือนประชาชนและสังคมล่วงหน้าก่อนภัยจะมา   โดยผู้แทนอาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ราชบัณฑิตยสภา

15.30-16.30       นำเสนอผลการระดมสมองกลุ่มย่อย

16.30-16.45       ปิดการประชุมโดยคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  คณะปฎิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมและอาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ราชบัณฑิตยสภา

รายงาน

Academy of Science

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา

View all posts by Academy of Science →