ศ. ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์
ภาคีสมาชิก
กัญชงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa subspecies sativa กัญชามีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกัน แต่อยู่ใน subsp. indica ชื่อสามัญที่นิยมใช้เรียกกัญชง คือ hemp ส่วนกัญชา คือ cannabis ส่วนชื่อพื้นเมืองก็เรียกแตกต่างกันออกไปอีกมากมาย พืชทั้งสองมีสารสาคัญในกลุ่มแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) มากกว่า 130 ตัว โดยมีสารหลัก 2 ตัว คือ (1) เตตร้า-ไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol หรือ THC) และ (2) แคนนาบิไดออล (cannabidiol หรือ CBD) สารทั้งสองมีผลทางประสาทที่แตกต่างกัน โดย THC ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้มหรือเมา ส่วน CBD ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ลดการอักเสบบวม ยับยั้งเซลล์มะเร็งและอาการชักกระตุก ทั้งยังช่วยลดอาการที่เกิดจากผลเชิงลบของ THC อีกด้วย กัญชากับกัญชงมีความแตกต่างกัน ที่สาคัญคือ ต้นโตเต็มที่ของกัญชาต้นเตี้ยกว่า (< 2 เมตร) แตกกิ่งก้านมากกว่า เปลือกไม่เหนียว ใบมี 5-7 แฉก มียางที่ช่อดอกมาก เมล็ดขนาดเล็กผิวมันวาว ในขณะที่กัญชงมีต้นสูงเกินกว่า 2 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย เปลือกเหนียวลอกง่าย ใบมี 7-9 แฉก มียางที่ช่อดอกน้อย เมล็ดโตกว่าและผิวด้าน ที่สาคัญกัญชามีสาร THC 1-10% ในขณะที่กัญชงมีน้อยกว่า 0.3% กัญชาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น กิ่ง ก้านใบ ใบ ช่อดอกและเมล็ด เพื่อใช้สูบโดยตรง หรือใช้สกัดน้ามัน หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีรายงานในตาราแพทย์แผนไทย “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ว่า มียากว่า 10 ตารับที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ เพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับประสาท หอบหืด บิด ท้องร่วง โรคผิวหนังกลากเกลื้อน กล้ามเนื้อกระตุก ส่วนในระดับนานาชาติ มีรายงานที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า กัญชาแก้เครียด แก้โรคสมาธิสั้น นอนไม่หลับ พาร์กินสัน ลมชัก โรคผิวหนังและมะเร็งต่าง ๆ ส่วนกัญชงมีประโยชน์เป็นยาบารุงโลหิต ทาให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น นอนหลับสบาย บรรเทาอาการเจ็บปวด คลายกล้ามเนื้อ เส้นใยจากเปลือกลาต้นใช้ทาเป็นเส้นด้ายและเชือกสาหรับทาเครื่องนุ่งห่ม เส้นใยแข็งแรงกว่าฝ้าย ดูดซับความชื้นได้ดีกว่าไนลอน และอบอุ่นกว่าลินิน เมล็ดสดใช้เคี้ยวเป็นยาสลายนิ่ว เมล็ดแห้งใช้สกัดน้ามันปรุงอาหารได้และมีวิตามินหลายชนิด น้ามันจากเมล็ดกัญชงยังใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ายาซักแห้งและเครื่องสาอางได้เกือบทุกชนิด เมล็ดมีโปรตีนสูง ใช้ทาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เนย ชีส เต้าหู้ โปรตีนเกษตร นม ไอศกรีม น้ามันสลัด อาหารเสริม ฯลฯ หรือผลิตเป็นแป้งทดแทนถั่วเหลือง มีรายงานว่า ในประเทศญี่ปุ่นปลูกต้นกัญชงเพื่อดูดซับปริมาณสารกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จังหวัดฟุกุชิมะอีกด้วย
ประเทศจีนถือเป็นผู้ผลิตกัญชารายใหญ่ที่สุดของโลก รวมทั้งส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้น้ามันกัญชาเป็นวัตถุดิบผลิตยารักษาโรคเพื่อส่งออกอีกทีหนึ่ง จีนมีการพัฒนาสายพันธุ์กัญชาได้หลากหลาย บางพันธุ์ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาว บางพันธุ์ก็ทนอากาศร้อนแห้งแล้งอย่างทะเลทราย สานักงานทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ระบุว่า จีนมีสิทธิบัตรเกี่ยวข้องกับกัญชาเกินกว่าครึ่งหนึ่งของ 600 กว่ารายการที่จดสิทธิบัตรไว้ในโลก เกษตรกรจีนมีรายได้จากการปลูกกัญชามากกว่าปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ หลายประเทศในโลก เช่น แคนาดาอิสราเอล เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย สเปน ออสเตรเลีย และบางรัฐในสหรัฐอเมริกา ผ่อนปรนกฎหมาย อนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชาทางการแพทย์ หรือเพื่อสันทนาการได้ มีการจัดตั้งสถาบันเพื่อค้นคว้าวิจัยเรื่องกัญชาในสหรัฐอเมริกา แคนาดา อิสราเอล ออสเตรเลีย และสาธารณรัฐเช็ก ในปี 2560 สหรัฐมีมูลค่าการซื้อขายกัญชาถูกกฎหมาย ทั้งในประเทศและส่งออก กว่า 2.25 แสนล้านบาท คาดว่า ในปี 2564 มูลค่าดังกล่าวจะสูงกว่า 7.5 แสนล้านบาท และสร้างงานในสหรัฐอเมริกาได้ประมาณ 414,000 ตาแหน่ง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนอร์ทเธอร์น มิชิแกน มีหลักสูตร Medicinal Plant Chemistry สอนทั้งเคมี ชีววิทยา พฤกษศาสตร์ การปลูกพืชในเรือนกระจก การตลาดและการเงิน มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด มหาวิทยาลัยเดนเวอร์ และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ มีวิชา Cannabis Science หรือ กัญชาศาสตร์ ในหลักสูตรการเรียนการสอน โดยมีการศึกษาทุกอย่างเกี่ยวกับกัญชา ตั้งแต่การปลูก การแยกสารประกอบ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีพระบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กาหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ห้ามผลิตจาหน่ายนาเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เป็นราย ๆ ไป ขณะนี้ สนช. กาลังแก้ไข พ.ร.บ. ดังกล่าว ให้สามารถใช้กัญชาในทางการแพทย์และการวิจัยได้ (จึงได้ชื่อเล่น ๆ ว่า พ.ร.บ.กัญชา) โดยลงมติรับหลักการวาระ 1 (หลักการและสาระของกฎหมาย) เมื่อ 23 พ.ย. 2561 ผ่านวาระ 2 อย่างเร่งด่วน และผ่านความเห็นชอบในวาระ 3 (ตรวจความสมบูรณ์ของ พ.ร.บ. ทั้งฉบับ) จาก สนช. เมื่อ 25 ธันวาคม 2561 แต่ปรากฏว่า สนช. เอง ก็กาลังพิจารณาประมวลกฎหมายยาเสพติดที่เป็นกฎหมายแม่ จานวน 3 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด ร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด และร่าง พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดียาเสพติด ที่ดาเนินการมาก่อน พ.ร.บ.กัญชา และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ สนช. ในวาระที่ 2 (พิจารณารายมาตราและแก้ไขเพิ่มเติม) เพื่อควบรวมกฎหมายที่เกี่ยวกับยาเสพติดในประเทศไทยซึ่งมีอยู่ 7 ฉบับ ทั้งในด้านสาธารณสุขและยุติธรรม ที่จะต้องให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น พ.ร.บ. กัญชาซึ่งเป็น พ.ร.บ. ลูก จึงถูกแขวนโดยประธาน สนช. อยู่จนถึงขณะนี้ แต่ก็มีมีหน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต นาเข้า ส่งออก ครอบครองและจาหน่ายกัญชาได้ ได้แก่ หน่วยงานที่ทาหน้าที่การเรียนการสอนด้านการแพทย์ เภสัชกรรม วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหายาเสพติด สภากาชาดไทย ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม สถาบันอุดมศึกษา ผู้ประกอบการขนส่ง ผู้ป่วยและผู้ขออนุญาตเป็นเฉพาะราย
ต้นกัญชง อนุญาตให้ปลูกในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก แต่ต้องควบคุมปริมาณสาร THC ไม่ให้สูงกว่าที่กาหนด เช่น ยุโรปกาหนดว่าไม่เกิน 0.2% แคนาดาไม่เกิน 0.3% เป็นต้น จีนเป็นประเทศที่ผลิตกัญชงมากที่สุด ถือเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของจีน ส่วนประเทศไทยอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐปลูกกัญชงได้ในพื้นที่ 6 จังหวัด 15 อาเภอ คือ เชียงใหม่ 4 อำเภอ เชียงราย 3 อำเภอ น่าน 3 อำเภอ ตาก 1 อำเภอ เพชรบูรณ์ 3 อำเภอ และแม่ฮ่องสอน 1 อำเภอ โดยสายพันธุ์ที่นามาปลูกจะต้องมีสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (THC) ไม่เกิน 1%
การพัฒนาวัตถุดิบกัญชา/กัญชง ใช้แนวทางเดียวกันได้ ได้แก่ (1) การศึกษาพันธุกรรมและพัฒนาสายพันธุ์ โดยใช้ทั้งวิธีมาตรฐานและเทคโนโลยีชีวภาพ (2) การศึกษาการผลิตทางเกษตรกรรม ได้แก่ การเพาะปลูก การจัดการพื้นที่โรงเรือน จนกระทั่งเก็บเกี่ยว สาหรับการศึกษาด้านพันธุกรรม ถือเป็นงานวิจัยพื้นฐานที่สาคัญ โดยลักษณะที่ต้องศึกษา คือ ถ้าจะใช้กัญชงในแง่ของพืชเส้นใย จะต้องมี THC น้อยกว่า 0.3% และสัดส่วน CBD/THC ต้องสูงกว่า 2 การรวบรวมพันธุ์กัญชาและก ญชงทาได้จากหลายที่ เช่น จีน อินเดีย แอฟริกา รัสเซีย เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ฯลฯ ในประเทศไทย มีหน่วยงานที่รวบรวมสายพันธุ์กัญชาและกัญชง ได้แก่ องค์การเภสัชกรรม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ สถาบันสารวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด สานักงาน ป.ป.ส. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ เป็นต้น จากนั้น สามารถนาพันธุ์ที่รวบรวมไว้มาคัดเลือกในโรงเรียนหรือในแปลง เพื่อใช้ประโยขน์ตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ ทางการแพทย์ เส้นใย น้ามันหรือกลิ่นรส ถ้าพันธุ์ที่รวบรวมไว้ยังไม่มีลักษณะครบถ้วนที่เราต้องการ ก็สามารถนามาผสมพันธุ์กัน แล้วคัดเลือกให้มีลักษณะหลากหลายอยู่ในพันธุ์เดียวกัน พันธุ์กัญชาส่วนใหญ่ที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันเป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่าง subspecies indica x indica, sativa x sativa,หรือ sativa x indica ก็ได้ ส่วนการศึกษาด้านเขตกรรมหรือการเพาะปลูก ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า อุณหภูมิอากาศ ความเข้มแสง ความชื้นในดิน ปริมาณธาตุอาหารหรือปุ๋ยในดิน โรคและแมลงศัตรู มีผลต่อปริมาณ THC และ CBD และเนื่องจากสารทั้งสองเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ไม่มีธาตุปุ๋ย N P K อยู่เลย การใช้ปุ๋ยควบคุมระดับของสารจึงทาได้ยาก การผลิตเพื่อใช้ประโยชน์ทางยาจึงมักทาในโรงเรือน เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับพันธุ์ที่ใช้ปลูก จากการศึกษาเบื้องต้นโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ พบว่า เมื่อปลูกกัญชง 9 สายพันธุ์ที่รวบรวมจากทั้งในและต่างประเทศ ใน 6 สภาพแวดล้อม ในเดือนมิถุนายน (ซึ่งมีวันยาว) พบว่า ปริมาณสาร THC มีแนวโน้มลดลงเมื่อพื้นที่ปลูกมีความสูงจากระดับน้าทะเลเพิ่มขึ้น ปริมาณสาร THC และ CBD สัมพันธ์กับอายุต้น เมื่อต้นแก่ขึ้นก็จะมีสารมากขึ้น