เมแทบอลิซึมของแคลเซียมและกระดูกในโรคทาลัสซีเมีย

ศ. ดร. นพ.นรัตถพล  เจริญพันธุ์ภาคีสมาชิก ทาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยในประเทศไทย เกิดจากความผิดปรกติแต่กาเนิดของยีนแอลฟาโกลบิน หรือเบต้าโกลบิน เช่น สร้างโกลบินได้น้อย หรือสร้างไม่ได้เลย ซึ่งทาให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง ภาวะเหล็กเกิน และมีเหล็กส่วนเกินสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ตลอดจนโครงสร้างกระดูก และการเจริญเติบโตของกระดูกผิดปรกติ อย่างไรก็ตามเนื่องจากงานวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การศึกษาพยาธิกาเนิดและแนวทางการรักษาโลหิตจางในผู้ป่วยทาลัสซีเมีย หรือการแก้ไขความผิดปรกติของยีนโกลบิน ปัญหาด้านเมแทบอลิซึมของแคลเซียมและกระดูกจึงมีผู้ศึกษาไม่มากนัก ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา มีรายงานวิจัยจานวนหนึ่งที่นาไปสู่ข้อสรุปว่า ทาลัสซีเมียเป็นสาเหตุของภาวะกระดูกบาง (osteopenia) และโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) …

แนวทางการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่

ศ. ดร.อมเรศ  ภูมิรัตนราชบัณฑิต การวิจัยและพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะก่อให้เกิดนวตกรรม ซึ่งจะถูกพัฒนาต่อให้มีผลในเชิงการใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นผลให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติในที่สุด อย่างไรก็ดีงานวิจัยและพัฒนาจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องมีนักวิจัยที่สามารถสร้างกลุ่มวิจัยของตนเองได้ (เป็นนักวิจัยอิสระ independent researcher) มีการเชื่อมโยงงานวิจัยระดับนานาชาติและกับภาคเอกชน ตลอดจนสามารถแสวงหาแหล่งทุนวิจัยอย่างเพียงพอและอย่างต่อเนื่อง เป็นนักวิจัยที่มีทัศนคติและความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง หากประเทศไทยต้องการให้มีนักวิจัยชั้นนำในปริมาณที่มากพอแล้ว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแนวทางการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาประมาณ 5 ปีแรกหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาเอก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญยิ่งที่จะต้องมีการส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ให้เป็นนักวิจัยอาชีพที่ประสบผลสำเร็จสูง ในการบรรยายครั้งนี้จะมีการเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ของ 3 หน่วยงาน คือ …

ความหลากหลายและการพัฒนาเห็ดทรัฟเฟิลในประเทศไทย

ศ. ดร.สายสมร  ลำยองภาคีสมาชิก เห็ดทรัฟเฟิลเป็นเห็ดรับประทานได้และมีราคาแพงแพงที่สุดในโลก เนื่องจากนิเวศวิทยาของเห็ดชนิดนี้อยู่ใต้พื้นดินและต้องอาศัยร่วมกับพืชอาศัยเท่านั้นจึงมีโอกาสพบได้ยาก อีกทั้งมีกลิ่นที่เป็นเอกลักณ์ พืชอาศัยตามธรรมชาติของเห็ดทรัฟเฟิล ได้แก่พืชตระกูล โอ็ค บีช และสน การค้นหาเห็ดทรัฟเฟิลอาศัยสัญชาตญาณการดมกลิ่นของสุนัขและสุกรเท่านั้น เห็ดทรัฟเฟิลแท้ตามวิทยาศาสตร์จัดอยู่ในสกุล Tuber เท่านั้น เห็ดทรัฟเฟิลส่วนใหญ่กระจายอยู่ในทวีปยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชียในพื้นที่ภูมิอากาศแบบหนาว โดยไม่สามารถพบในพื้นที่ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ปัจจุบันมีการค้นพบเห็ดทรัฟเฟิลมากว่า 296 ชนิด แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่เป็นที่นิยมบริโภค ราคาของเห็ดทรัฟเฟิลนั้นอยู่ระหว่างหนึ่งหมื่นบาทจนถึงสองแสนบาทต่อกิโลกรัม …

สถานการณ์พลังงานไทยและการจัดการ

ศ. ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ราชบัณฑิต ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ประเทศไทยจัดหาพลังงานขั้นต้น ๑๓๖,๒๑๕ พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ โดยมีสัดส่วนการนำเข้ามากกว่าร้อยละ ๕๐ มีการแปรรูปซึ่งมีการสูญเสีย และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมอื่นส่วนหนึ่ง เหลือใช้ในรูปของพลังงานขั้นสุดท้าย ๘๐,๗๕๒ พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เมื่อจำแนกตามประเภทของพลังงานขั้นสุดท้ายที่ใช้ ที่สำคัญเป็นน้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ ๕๐.๑ ไฟฟ้าร้อยละ ๒๐.๕ พลังงานหมุนเวียนร้อยละ ๙.๑ หากจำแนกตามสาขาเศรษฐกิจพบว่า ใช้ในสาขาขนส่งร้อยละ …

กลวิธานการเกิดมลภาวะอากาศ PM2.5 ในประเทศไทย เดือนมกราคม ๒๕๖๒

ศ. ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุลราชบัณฑิต ช่วงเดือนมกราคม ๒๕๖๒ ที่ผ่านไป ได้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาด PM2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานบริเวณกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงอย่างน้อย ๑๒ จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง อยุทยา อ่างทอง และปราจีนบุรี ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ …

สถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย

ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัณโรค (Tuberculosis: TB) อาจจัดได้ว่าเป็นโรคอุบัติซ้ำ (Re-emerging disease) โดยเหตุที่เคยเป็นปัญหาด้านสุขภาพของโลกและของประเทศไทย แต่จากการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนดำเนินการรักษา ควบคุมโรคด้วยยาและวัคซีนจนประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคและลดระดับความสำคัญของภาวะโรคนี้ลงไปได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลาประมาณ ๑๐ ปีที่ผ่านมา วัณโรคกลับกลายมาเป็นปัญหาสุขภาพระดับโลกอีกครั้ง รวมทั้งเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทยด้วย