แนวทางการประเมินหน่วยวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย

ศ. ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์  ราชบัณฑิตและศ. ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา  ภาคีสมาชิก ปัจจุบัน การประเมินหน่วยงานและบุคลากรวิจัยใช้เกณฑ์ที่หลากหลาย นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดบางตัวยังมีลักษณะเป็นเชิงคุณภาพค่อนข้างมาก จึงควรมีแนวทางการประเมินที่ใช้ดัชนีชี้วัดเชิงปริมาณที่วัดได้ง่ายและชัดเจน ด้วยเหตุนี้ ผู้บรรยายจึงนำเสนอแนวทางการประเมินหน่วยงานและบุคลากรวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยในส่วนของการประเมินหน่วยงานวิจัย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่สังกัดมหาวิทยาลัย) อาจใช้ดัชนี้ชี้วัดดังต่อไปนี้ (๑) จำนวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus (หรือฐานข้อมูล TCI …

สถานการณ์พลังงานไทยและการจัดการ

ศ. ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ราชบัณฑิต ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ประเทศไทยจัดหาพลังงานขั้นต้น ๑๓๖,๒๑๕ พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ โดยมีสัดส่วนการนำเข้ามากกว่าร้อยละ ๕๐ มีการแปรรูปซึ่งมีการสูญเสีย และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมอื่นส่วนหนึ่ง เหลือใช้ในรูปของพลังงานขั้นสุดท้าย ๘๐,๗๕๒ พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เมื่อจำแนกตามประเภทของพลังงานขั้นสุดท้ายที่ใช้ ที่สำคัญเป็นน้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ ๕๐.๑ ไฟฟ้าร้อยละ ๒๐.๕ พลังงานหมุนเวียนร้อยละ ๙.๑ หากจำแนกตามสาขาเศรษฐกิจพบว่า ใช้ในสาขาขนส่งร้อยละ …

การผลิตข้าวนึ่งโดยไม่ใช้ไอน้ำด้วยเทคนิคฟลูอิไดเซซันลมร้อน และฟลูอิไดเซวันลมร้อนร่วมกับไมโครเวฟ

สมชาติ โสภณรณฤทธิ์1 ราชบัณฑิตสมเกียรติ ปรัชญาถาวร2ธนิต สวัสดิเสวี1และอีลีหย๊ะ สนิโซ1 คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ข้าวนึ่งเป็นที่นิยมบริโภคกันในหลายประเทศและเป็นสินค้าส่งออกด้านการเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย กรรมวิธีการผลิตข้าวนึ่งโดยทั่วไป เริ่มจากการแช่ข้าวเปลือกที่มีปริมาณอะมิโลสสูง ในน้ำร้อน 80C นานประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำเข้าหม้อนึ่งด้วยไอน้ำที่มีความดันสูงกว่าบรรยากาศเล็กน้อย นานประมาณ 10 – 15 นาที …