เกษตรพันธสัญญากับการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตร

ศ. ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เกษตรพันธสัญญา (Contract farming) เริ่มมีการใช้เป็นครั้งแรกโดยบริษัทญี่ปุ่นที่เข้าไปทำธุรกิจในไต้หวันตั้งแต่ช่วงทศวรรษปี ค.ศ. ๑๙๓๐ เพื่อให้มีอุปทาน (Supply) และคุณภาพของผลผลิตเป็นไปตามที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม เกษตรพันธสัญญามักถูกกล่าวถึงในแง่ลบ โดยเฉพาะในแง่ของสัญญาที่ภาคอุตสาหกรรมเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว เกษตรพันธสัญญามีความสำคัญ ทั้งในด้านการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร ความมั่นคงของอุปทานที่จัดส่งเข้าสู่ระบบการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งการควบคุมต้นทุนการผลิตไม่ให้แปรปรวนภายใต้ความไม่แน่นอนต่าง ๆ