การพิมพ์อาหารด้วยวิธีพิมพ์สามมิติสำหรับคนกลืนยาก : กรณีศึกษาเรื่องวิทยากระแส
ฐิติกานต์ ฉุยฉาย, พิชาภา ด้วงสงค์, อรัญ หาญสืบสาย, สุดา เกียรติกำจรวงศ์ (ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสภา ศีตะปันย์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ผู้สูงวัย ผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งในช่องปาก มักมีความยากลำบากในการกลืนน้ำและอาหารที่มีความหนืดต่ำ จึงจำเป็นต้องผลิตอาหารที่มีความหนืดสูง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรับอาหารทางสายยาง สภาพของอาหารที่มีความความหนืด (หรือความเข้มข้น) พอเหมาะรวมทั้งมีลักษณะการไหลที่ดี