วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ โรงแรมเดอะสุโกศล
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม “ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนโครงสร้างประเทศไทยสู่สังคมดิจิทัล”
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต “การก้าวกระโดดสู่สังคมดิจิทัล ตัวอย่างประเทศจีน”
โลกเปลี่ยนไปแล้ว เราอยู่ในรุ่งอรุณของยุคเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน สำหรับประเทศไทย เรากำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมดิจิทัล” ในแบบที่ไม่มีการวางแผนหรือเตรียมตัวไว้ก่อน เสมือนหนึ่งบ้านที่กำลังก่อสร้างโดยไม่มีแบบพิมพ์เขียว
สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา ได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับมวลมนุษย์ชาติ โดยได้จัดให้มีการเสวนาวิชาการ เรื่อง “ประเทศไทยกับความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล (Digital Transformation Challenges for Thailand)” งานนี้ได้รับการต้อนรับจากสาธารณชนอย่างล้นหลามจนไม่มีที่นั่งพอเพียงในห้องประชุม
ในงานนี้ ศ.กิตติคุณ ดร. วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต และ ผู้อำนวยการคนแรกของสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้หยิบยกตัวอย่างของประเทศจีน ที่ได้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัล (Digital Transformation) จนได้รับการขนานนามว่า เป็นความมหัศจรรย์ของประเทศจีน (China Miracle)
ถ้าท่านมีความสนใจในแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งยวดของนวัตกรรมเทคโนโลยี คลิปนี้ จะทำให้ท่านเข้าใจว่า ทำไมทุกภาคส่วนในประเทศไทยจะต้องหันมาให้ความสนใจในการกำหนดพิมพ์เขียว “ที่ยืนของประเทศไทยในโลกแห่งอนาคต” ก่อนที่ประชากรไทยจะต้องกลายเป็นชนชั้นมนุษย์ที่ไร้ค่า (Useless Class) ตามนิยามของนักอนาคตชื่อดัง Yuval Noah Harare
ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา กาญจนสุต เจ้าของรางวัล ๒๕๕๙ โพสเทล เซอร์วิส อวอร์ด คนแรกของประเทศไทย จากประชาคมอินเทอร์เน็ตสากล “จากโลกอินเตอร์เน็ต สู่โลกดิจิทัล”
ศาสตราจารย์ ดร.ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ราชบัณฑิต “เทคโนโลยีที่จำกัดความสามารถของปัญญาประดิษฐ์”
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ภาคีสมาชิก “ความพร้อมของประเทศไทยในการรับมือ กับสังคมดิจิทัลในยุคปัญญาประดิษฐ์”
ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต “การเตรียมความพร้อมเพือรับการ เปลียนแปลงทางดิจิทัล”
ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ศาสตราจารย์ ดร.วัลลภ สุระกำพลธร ภาคีสมาชิก “เทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตสรรพสิง กับอุตสาหกรรม ๔.๐”