อราดา วงศ์ศุภลักษณ์1 สมศักดิ์ ดารงค์เลิศ1,2
1 ภาควิชาเคมีเทคนิค ตณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดกรด 3 ชนิด ได้แก่ ซีโอไลต์ชนิด HZSM-5, เหล็กบนถ่านกัมมันต์และ Co-MoบนAl2O3 นาตัวเร่งแต่ละชนิดมาผสมกับพอลิสไตรีนบรรจุลงในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กมีความจุ 75 มิลลิลิตร ปรับอุณหภูมิการทดลองตั้งแต่ 350 ถึง 400 องศาเซลเซียส ความดันไฮโดรเจนตั้งแต่ 1 ถึง 5 บาร์ และใช้เวลาทาปฏิกิริยาตั้งแต่ 60 ถึง 180 นาที ปริมาณของตัวเร่งที่ใช้ผสมมีดังนี้ HZSM-5 0.1 ถึง 1.0 เปอร์เซ็นต์โดยน้าหนัก เหล็กบนถ่านกัมมันต์และ Co-Mo/Al2O3 ร้อยละ1.0 ถึง 5.0 โดยน้าหนัก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ามันและองค์ประกอบที่ดีที่สุด โดยได้ทาการออกแบบการทดลองเป็นแบบแฟกทอเรียลสองระดับ
จากการทดลองพบว่าสภาวะที่เหมาะสมของการแตกตัวพอลิสไตรีนที่ใช้แล้วด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา HZSM-5 คือ อุณหภูมิ 370 องศาเซลเซียส เวลาทาปฏิกิริยา 90 นาที ความดันไฮโดรเจน 1 บาร์และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 0.1 เปอร์เซ็นต์โดยน้าหนัก ได้ผลิตภัณฑ์น้ามันร้อยละ 88.3 ประกอบด้วยแก๊สโซลีน เคโรซีน แก๊สออยล์เบา แก๊สออยล์ และกากน้ามันเบา ร้อยละ 28, 3, 40, 3 และ 26 ตามลาดับ สภาวะที่เหมาะสมของการแตกตัวพอลิสไตรีนที่ใช้แล้วด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กบนถ่านกัมมันต์ คือ อุณหภูมิ 370 องศาเซลเซียส เวลาทาปฏิกิริยา 120 นาที ความดันไฮโดรเจน 1 บาร์และตัวเร่งปฏิกิริยา 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้าหนัก ได้ผลิตภัณฑ์น้ามันร้อยละ 88.7 ประกอบด้วยแก๊สโซลีน เคโรซีน แก๊สออยล์เบา แก๊สออยล์ และกากน้ามันเบา ร้อยละ 24, 1, 45, 2 และ 28 ตามลาดับ ส่วนสภาวะที่เหมาะสมของการแตกตัวพอลิสไตรีนที่ใช้แล้วบนตัวเร่งปฏิกิริยา Co-Mo/Al2O3 คือ อุณหภูมิ 370 องศาเซลเซียส เวลาทาปฏิกิริยา 90 นาที ความดันไฮโดรเจน 1 บาร์และตัวเร่งปฏิกิริยา 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้าหนัก ได้ผลิตภัณฑ์น้ามันร้อยละ 91.2 ประกอบด้วยแก๊สโซลีน แก๊สออยล์เบา แก๊สออยล์ และกากน้ามันเบา ร้อยละ 33, 40, 1 และ 26 ตามลาดับ