ศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งโรจน์  พิทยศิริ

ภาคีสมาชิก      แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๕ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

                   สาขาวิชาอายุรศาสตร์ ประเภทวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์

ประวัติการศึกษา

          – แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๖

          – ประกาศนียบัตร 

๑) Diploma in Geriatric Medicine, Royal College of Physicians and Surgeons of Glasgow, Scotland, United Kingdom พ.ศ. ๒๕๔๑

๒) American Board of Psychiatry and Neurology พ.ศ. ๒๕๔๖

๓) Fellowship of London Royal College of Physicians of London, FRCP  พ.ศ. ๒๕๕๑

๔) Fellowship of London Royal College of Physicians of Ireland, FRCPI พ.ศ. ๒๕๕๓

ประวัติการทำงานวิชาการ/วิชาชีพ

– ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ A-๑ (เทียบเท่า ศ ๑๑) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(พ.ศ. ๒๕๖๑–ปัจจุบัน)

– ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๖๓ – ปัจจุบัน)           

– Visiting Professor Parkinson Foundation Centre of Excellence, Kings College and Kings College Hospital NHS Foundation Trust, London, UK (พ.ศ. ๒๕๖๖–ปัจจุบัน)      

– ประธานคณะทำงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ศ. ๒๕๖๔–๒๕๖๕)

– คณะอนุกรรมการพิจารณายาสาขาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท, คณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติกระทรวงสาธารณสุข  (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ปัจจุบัน)

– ประธานกรรมการจัดทำคู่มือแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคพาร์กินสันสำหรับแพทย์ในเวชปฏิบัติกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. ๒๕๖๒) และฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๖)

– International expert, WHO Brain Health Unit, World Health Organization (พ.ศ. ๒๕๖๓ – ปัจจุบัน)

– Section Chief Editor, Neurotechnology, Frontiers in Neurology (IF 3.4, Cite Score 4.8, https://www.frontiersin.org/journals/neurology/sections/neurotechnology/about)

– Associate Editor, Journal of Parkinson’s Disease (IF: 5.2, Cite Score 6.9, https://www.journalofparkinsonsdisease.com/editorial-board)

ประวัติการทำงานบริหาร

– หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ   โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  (พ.ศ. ๒๕๔๘-ปัจจุบัน)

– ประธานฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๖๐-ปัจจุบัน)

– ประธานสมาคมแพทย์ทางด้านโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกตินานาชาติ ภาคพื้นเอเชีย โอเชียเนีย (International Parkinson and Movement Disorder Society-Asian Oceanian Section) (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๔)

– International Executive Committee, International Parkinson and Movement Disorder Society (www.movementdisorders.org) (พ.ศ. ๒๕๖๕ – ปัจจุบัน)     

– Secretary, Asian-Oceanian Neurological Association (พ.ศ. ๒๕๖๗-ปัจจุบัน)

ผลงานวิชาการ/วิชาชีพที่สำคัญ

–“The Academy of Science, The Royal Society of Thailand, Bangkok, Thailand”

   จำนวน ๕๘ ผลงาน และตำราวิชาการนานาชาติ จำนวน ๑ เล่ม (พ.ศ. ๒๕๖๓ – ปัจจุบัน)

– ผลงานตีพิมพ์วารสารวิชาการในระดับนานาชาติ             จำนวน ๕๙๙ ฉบับ

– International Textbooks                                   จำนวน ๔ เล่ม

– สิ่งประดิษฐ์ (สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร)                          จำนวน ๑๓ ผลงาน

– ลิขสิทธิ์โปรแกรม และวรรณกรรม (เฉพาะที่จดแจ้ง)         จำนวน ๗ ผลงาน

ความเชี่ยวชาญ

          – ด้านประสาทวิทยา โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ (Movement Disorders)

เกียรติคุณที่ได้รับ เช่น                                                  

๒๕๕๘  รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

๒๕๕๙  Leaders in Innovation Fellowship, Royal Academy of Engineering, United Kingdom

๒๕๖๔  รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท. สาขารับใช้สังคม สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

๒๕๖๖  รางวัลอายุรแพทย์ดีเด่น ด้านวิชาการ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

๒๕๖๖  The Yoshikuni Mizuno Lectureship Award, The Asian Oceanian Section of the           International Parkinson and Movement Disorder Society (MDS-AOS), Kolkata, India

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) (วันที่ ๕ ธันวาคม  ๒๕๕๘)

          – ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)  (วันที่ ๒๘ กรกฎาคม  ๒๕๖๔)