ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์

ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาเคมี (พ.ศ. ๒๕๕๒)

คุณวุฒิ
  • ปริญญาตรี สาขาเคมี (เกียรตินิยมอันดับ ๑) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ (พ.ศ. ๒๕๐๙)
  • ปริญญาเอก สาขาเคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ (พ.ศ. ๒๕๑๒)
ตำแหน่ง
  • อาจารย์และศาสตราจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๓๙)
  • ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๔)
  • ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๔๑)
  • ประธานสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๔๙)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๑)
  • ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๗-ปัจจุบัน)
เกียรติคุณ
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
  • นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. ๒๕๒๗)
  • ศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Professor) สถาบันชีววิทยาโมเลกุล มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนแฟรนซิสโก สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๓๓)
  • รางวัล ASEAN Science and Technology Meritorious Service Award จากองค์การอาเซียน (พ.ศ. ๒๕๔๑)
  • นักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น (พ.ศ. ๒๕๔๕)
  • รางวัลผลงานวิจัยเกียรติยศ สกว. จากการได้รับการอ้างอิงผลงานวิจัยสูงสุด (พ.ศ. ๒๕๔๖)
  • บุคคลดีเด่นของชาติ จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๗)
  • รางวัล Nikkei Asia Award for Science, Technology and Innovation จาก Nihon Keizai Shimbun ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. ๒๕๔๗)
  • หนังสือพิมพ์ The Nation  ได้จัดให้เป็น ๑ ใน ๓๕ คนผู้มีบทบาทสูงต่อประเทศไทย ในช่วง ๓๕ ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๔๙)
  • ได้รับการยกย่องเป็น “นักวิทยาศาสตร์อาวุโส” จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. ๒๕๕๔) 
ความเชี่ยวชาญ
  • ค้นพบกลไกของการดื้อยาแอนติโฟเลตของเชื้อมาลาเรียซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของเอมไซม์ในเชื้อที่เป็นเป้าหมายของยา
  • งานวิจัยด้านการพัฒนายาต้านมาลาเรียโดยเฉพาะแอนติโฟเลตและชีวเคมีพื้นฐานของมาลาเรีย
ผลงานสำคัญ
  • เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “แนวทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐” ในงานวันเปิดบ้านราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐
  • ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ๑๑๒ เรื่อง
  • เขียนหนังสือและตำรา ๑๑ เรื่อง
  • สิทธิบัตร ๓ เรื่อง