ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์

ภาคีสมาชิก

แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร
ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรและสัตวแพทยศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์

ประวัติการศึกษา
  • ปริญญาตรี วท.บ. (เกษตรศาสตร์), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย, พ.ศ. ๒๕๑๔
  • ปริญญาโท วท.ม. (พันธุศาสตร์), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย, พ.ศ. ๒๕๑๗
  • ปริญญาเอก Ph.D. (Agronomy), University of Illinois at Urbana-Champaign, USA, พ.ศ. ๒๕๒๒
ประวัติการทำงานวิชาการ/วิชาชีพ (ทั้งหมดที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • อาจารย์ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร (พ.ศ. ๒๕๑๘ – พ.ศ. ๒๕๒๖)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร (พ.ศ. ๒๕๒๖ – พ.ศ. ๒๕๒๙)
  • รองศาสตราจารย์ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร (พ.ศ. ๒๕๒๙ – พ.ศ. ๒๕๓๔)
  • ศาสตราจารย์ระดับ ๑๐ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร (พ.ศ. ๒๕๓๔ – พ.ศ. ๒๕๔๓)
  • ศาสตราจารย์ระดับ ๑๑ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน (พ.ศ. ๒๕๔๓ – พ.ศ. ๒๕๕๘)
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ปัจจุบัน)
ประวัติการทำงานบริหาร
  • รักษาการแทนหัวหน้าภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร (พ.ศ. ๒๕๒๙ – พ.ศ. ๒๕๓๑)
  • ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเกษตร (พ.ศ. ๒๕๒๙ – พ.ศ. ๒๕๓๗)
  • หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (พ.ศ. ๒๕๓๓ – พ.ศ. ๒๕๓๗)
  • รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๓๓ – พ.ศ. ๒๕๓๗)
  • ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๓๗ – พ.ศ. ๒๕๓๙)
  • รองคณบดี คณะเกษตร (พ.ศ. ๒๕๓๙)
  • กรรมการบริหารสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๓๐ – พ.ศ. ๒๕๔๕)
  • กรรมการบริหาร The Society for the Advancement of Breeding Research in Asia and Oceania (SABRAO) ซึ่งเป็นสมาคมนานาชาติด้านการปรับปรุงพันธุ์และพันธุศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ในทวีป เอเชีย ออสเตรเลีย และอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๓๖ – พ.ศ. ๒๕๔๘)
  • สมาชิกผู้ก่อตั้ง บัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐ – ปัจจุบัน)
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเภทคณาจารย์ประจำ (พ.ศ. ๒๕๔๑ – พ.ศ. ๒๕๔๕)
  • ผู้แทนประเทศไทยในโครงการ Enhancement of Genetic Diversity in Food, Pulses, and Oil Crops and Establishment of Mutant Germplasm Network. ได้รับการสนับสนุนจาก International Atomic Energy Agency (IAEA), Vienna, Austria (พ.ศ. ๒๕๔๔ – พ.ศ. ๒๕๔๘)
  • ที่ปรึกษาสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๖ – ปัจจุบัน)
  • อุปนายกสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๖ – พ.ศ. ๒๕๕๔)
  • First Vice-President of SABRAO (พ.ศ. ๒๕๔๙ – พ.ศ. ๒๕๕๓)
  • President of SABRAO (พ.ศ. ๒๕๕๓ – พ.ศ. ๒๕๕๗)
  • ที่ปรึกษาสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ปัจจุบัน)
  • อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ปัจจุบัน)
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (พ.ศ. ๒๕๖๑ – พ.ศ. ๒๕๖๓)
ผลงานวิชาการ
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ มีผลงานที่สามารถสืบค้นได้จาก ฐานข้อมูลภูมิปัญญามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://kukr.lib.ku.ac.th จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ รวม ๕๕๓ รายการ เป็นผลงานภาษาไทย ๒๙๔ รายการ ภาษาอังกฤษ ๒๔๙ รายการ ในจำนวนนี้ เป็นการเรียบเรียงตำราภาษาไทย ๖ เล่ม หนังสือภาษาไทยและอังกฤษ ๕ เล่ม ตีพิมพ์ในวารสารไทย ๖๙ เรื่อง ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ๑๗๖ เรื่อง ซึ่งจากฐานข้อมูลการตีพิมพ์นานาชาติ จนถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ผลงานของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ได้รับการอ้างอิงทั้งสิ้น ๑๕๑ เรื่อง อ้างอิงรวม ๑,๗๘๘ ครั้ง (เฉลี่ยประมาณ ๑๒ ครั้งต่อเรื่อง) มี h-index = ๒๒ และมีสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประมาณ ๒๐ ชิ้น
ผลงานวิชาการ
  • ที่สำคัญคือ พันธุ์พืช ๑๗ พันธุ์ ที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ เป็นหัวหน้าโครงการ ได้แก่ ถั่วเขียวพันธุ์ กำแพงแสน ๑ และ กำแพงแสน ๒ ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML1 ถึง KUML5 สบู่ดำประดับ กำแพงแสน ๑ ถึง กำแพงแสน ๖ สบู่ดำดอกตัวผู้เป็นหมัน KUJLms1 สบู่ดำต้นเตี้ย KUJL26 สบู่ดำลูกผสมสุชาติ ๑ สบู่ดำสารพิษต่ำสุชาติ ๒
ความเชี่ยวชาญ
  • เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร พันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์พืช

เกียรติคุณที่ได้รับ

  • นักวิจัยดีเด่นประจำปี ๒๕๒๘ จากสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ
  • บุคคลดีเด่นของชาติประจำปี ๒๕๒๙ สาขาพัฒนาการเกษตร จากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • เมธีวิจัยอาวุโส ซึ่งเป็นทุนที่สำคํญที่สุดของ สกว. ๓ สมัย (พ.ศ. ๒๕๓๙ – พ.ศ. ๒๕๔๙)
  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๔ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • ผู้รับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญที่สุดของ สวทช. (พ.ศ. ๒๕๔๙ – พ.ศ. ๒๕๕๔)
  • ผู้รับทุน Chair Professor จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ร่วมกับ สวทช. (พ.ศ. ๒๕๕๔ – พ.ศ. ๒๕๖๐)
  • อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๙ จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่ง ประเทศไทย (ปอมท.)
  • นักปรับปรุงพันธุ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ของสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย
  • ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อวงการพืชไร่วงศ์ถั่ว ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ จากคณะกรรมการจัดการประชุมพืชไร่วงศ์ถั่วแห่งชาติ
  • ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่วงวิชาการพันธุศาสตร์และสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ โดย สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • Honorary Scientist ของ Rural Development Administration (RDA) สาธารณรัฐเกาหลี (พ.ศ. ๒๕๔๖ – พ.ศ. ๒๕๔๙)
  • ได้รับรางวัล Jiangsu Friendship Award จาก Jiangsu Provincial Government สาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. ๒๕๕๗)
  • ได้รับรางวัล The 2014 International Science and Technology Cooperation Award จาก Ministry of Science and Technology สาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. ๒๕๕๗)
  • ได้รับรางวัล Chinese Government Friendship Awards จาก State Administration of Foreign Experts Affairs สาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. ๒๕๕๘)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • มหาปรมาภรณ์มงกุฎไทย (พ.ศ. ๒๕๔๑)
  • เหรียญจักรพรรดิมาลา (พ.ศ. ๒๕๔๓)
  • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. ๒๕๔๔)
  • จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (พ.ศ. ๒๕๔๗)
  • เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (พ.ศ. ๒๕๖๑)
ฐานข้อมูลวิชาการ