ราชบัณฑิต
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สาขาวิชากีฏวิทยา
ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรและสัตวแพทยศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
- กรรมการในคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา วาระ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ปัจจุบัน)
ประวัติการศึกษา
- ระดับปริญญาตรี วท. บ. (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๓
- ระดับปริญญาโท M. S. (Entomology), University of California Davis, USA พ.ศ. ๒๕๑๕
- ระดับปริญญาเอก Ph. D. in Entomology, University of California Davis, USA พ.ศ. ๒๕๑๘
ประวัติการทำงานวิชาการ
- รับราชการเป็นอาจารย์ในภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๘) และดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยวิจัยชีววิทยาของผึ้ง (Bee Biology Research Unit) (พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๔๕)
- หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒ สมัย (พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๘)
- คณบดีคณะเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร (พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๘)
- คณบดีคณะเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสารคาม (พ.ศ. ๒๕๔๘ – ๒๕๕๑)
- คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๔)
ประวัติการทำงาน
- เลขาธิการสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖)
- อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๘)
- Visiting Professor (1999) National University of Singapore (NUS) โดยทุน Distinguished Professor Asian University Network (AUN)
- Visiting Professor (2010-2012) King Saudi University (KSU), Riyadth, Kingdom of Saudi Arab
- President of Asian Apiculture Association (AAA), Tamagawa University, Tokyo, Japan (2006 – present)
เกียรติคุณที่ได้รับ
- ได้รับ Awarded for Excellent Contribution to Asian Apiculture Asian Apiculture Association (AAA) และสถาบัน ICOD ณ ประเทศเนปาล วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๑ ในการประชุม Fourth International Conference of Asian Apiculture Association
- ได้รับคัดเลือกเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นสาขาสัตว์ สมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๐
- ได้รับรางวัล นักกีฏวิทยาดีเด่น (สาขาวิชาการ) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๘ จากภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมกีฏวิทยาและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย
- ได้รับรางวัลที่ ๑ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในโครงการผสมเทียมผึ้งและผลิตผึ้งนางพญา สร้างสายพันธุ์ไฮบริดไทย-จีน เป็นครั้งแรกของโลก (บทความวิจัยลงตีพิมพ์ใน American Bee Journal และ Honey Bee Science)
- ได้รับรางวัลชมเชยการประกวดหนังสือประเภทสารคดีเรื่องผึ้งและน้ำผึ้ง จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ (UNESCO) ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ได้รับคัดเลือกให้เป็น Distinguished Professor of Asian university Network จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ไปเป็น visiting professor ที่ Department of Biological Science, National University of Singapore
- ได้รับทุนส่งเสริมวิชาชีพนักวิจัย ประเภททุนนักวิจัยอาวุโส จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๔
- ได้รับทุนเมธีวิจัยอาวุโส ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว)
- ได้รับทุนโครงการพัฒนากลุ่มวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (สกอ.) พ.ศ. ๒๕๔๙
- ได้รับรางวัล Award of Recognition to be the Center of Excellence in Asia จาก Asian Apicultural Association, honeybee Science Research Center, Tamagawa University, Machida-shi, Tokyo, Japan ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ณ ประเทศฟิลิปปินส์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (มปช) พ.ศ. ๒๕๔๕