ราชบัณฑิต
- โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สำนักวิทยาศาสตร์
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
- กรรมการดำเนินงานสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา
ประวัติการศึกษา
- ปริญญาตรี สาขาวิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๐
- ปริญญาโท สาขาวิชาชีวเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๓
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสรีรวิทยาและชีวเคมีในสัตว์ มหาวิทยาลัยการสัตวแพทย์
- และการเกษตร กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก, ๒๕๑๔
ประวัติการทำงานวิชาการ
- นักวิทยาศาสตร์ตรี กระทรวงอุตสาหกรรม, ๒๕๑๐
- อาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๒–๒๕๓๓
- ผู้อำนวยการโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ไทย-เนเธอร์แลนด์, ๒๕๒๑ –
- Standing Committee of International Congress on Animal Reproduction and Artificial Insemination, ๒๕๒๓
- อนุกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติในกิจการเกษตร, ๒๕๒๓
- FAO consultant on Animal Reproductive Physiology FAO/IAEA Coordinator and director of Buffalo Programme on Hormonal Quality Control : Establishment of RIA Laboratories, ๒๕๒๕
- ผู้อำนวยการโครงการการใช้นิวเคลียร์เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมกิจการผสมเทียม โคนมและกระบือปลัก, ๒๕๒๖
- Standing Committee of International Buffalo Federation. Founder, Producer and Editor of Buffalo Journal, An International Journal for publications on all aspectes of buffalo biology and husbandry, ๒๕๒๘
- ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๓
- นายกสมาคมกระบือไทย, ๒๕๓๓
- Executive Committee to review and drawing up a new Consitution and By-Laws of “International Congress on Animal Reproduction and Biotechnology” (International Congress on Animal Reproduction and Artificial Insemination established since 1948 and changing the name to Animal Reproduction and Biotechnology in 1988), ๒๕๓๓
- IAEA Expert on Improvement of Reproductive Efficiency in Cattle under the project CPR/5/007 in P.R. China, ๒๕๓๔
- Coordinator of Chulalongkorn University and Sichuan Agricultural University Technical Exchanges Programme on Animal and Plant Technology, ๒๕๓๕
- หัวหน้าโครงการบัณฑิตอุดมคติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๗
- ประธานอนุกรรมการโครงการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย ทบวงมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย ทบวงมหาวิทยาลัย สมาชิกก่อตั้งบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๐
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๑
- กรรมการคัดเลือกสมาชิกบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๑
- President of Thai Ideal Gradutes Association TIG ดำเนินการจัดประชุมนานาชาติ First International Congress on Ideal Graduates, ๒๕๔๒
ผลงาน
- วิเคราะห์ฮอร์โมนเพศในกระบือปลักด้วยเทคนิคเรดิโออิมมูโนเอสเซ (RIA) เป็นครั้งแรกในโลก ที่เปิดงานวิจัยต่อมไร้ท่อและการผสมเทียมกระบือปลักระดับชาติและนานาชาติ, ๒๕๑๙
- ใช้ระดับโพรเจสเทอโรนในพลาสมาสำหรับตรวจสภาพการทำงานของรังไข่กระบือปลัก และสร้างเป็น เทคนิคการตรวจท้องระยะแรกหลังผสมเทียม ๒๔ วัน โดย RIA ระดับชาติและนานาชาติ, ๒๕๒๑
- ใช้เทคนิคเอนไซม์อิมมูโนเอสเซ (EIA or ELISA) วัดระดับโพรเจสเทอโรนในพลาสมากระบือปลักและในน้ำนมจากโคเมื่อตรวจท้องระยะแรกหลังผสมเทียม ๒๔ วัน เปรียบเทียบกับเทคนิคเรดิโออิมมูโนเอสเซ ได้เป็นผลสำเร็จครั้งแรกในโลกเป็นการเปิดงานวิจัย ELISA สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ และการตรวจโรคในกิจการปศุสัตว์ของโลก, ๒๕๒๒
- คิดค้นต่อยอดการใช้โพรเจสเทอโรนในพลาสมา สำหรับตรวจท้องระยะแรกหลักแยกพ่อพันธุ์คุมฝูง ทันทีในกระบือปลักและโคเนื้อ, ๒๕๒๔
- ชะล้างตัวอ่อนกระบือปลักเป็นครั้งแรกในโลก ที่เปิดงานวิจัยการปฏิสนธิในหลอดแก้วและงานโคลนนิงกระบือในระดับนานาชาติ, ๒๕๒๘
- ย้ายฝากตัวอ่อนในโคนมครบวงจรเป็นครั้งแรกในประเทศไทย, ๒๕๒๙
- โคลนนิงโคตัวแรกของประเทศไทยสำเร็จเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
เกียรติคุณที่ได้รับ
- งานวิจัยดีเด่นทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย, ๒๕๑๙
- Certificate of Dedication ในการค้นพบเทคโนโลยีมาโตมาติดเพื่อมวลชีวิตที่สงบสุข จากInterantional Biographical Centre (IBC) Combridge, ๒๕๔๑
- รางวัล The Twentieth Century Award for Achievement จาก International Biographical Centre (IBC) Cambridge ประเทศอังกฤษ, ๒๕๔๑
- ได้รับยกย่องจาก American Biographical Institute (ABI) National Association of Independent Publishers ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๖๗ ให้ลงชีวประวัติในหนังสือFive Hundred Leaders of Influence; Seven Edition จัดพิมพ์ใน ค.ศ. ๑๙๙๘ เป็นการบันทึกผลงานของผู้ที่ได้รับการยกย่องจำนวน ๕๐๐ คนจากทั่วโลกที่ได้ทำประโยชน์แก่โลกในระยะ ๒๕ ปีก่อนสิ้นศตวรรษที่ ๒๐
- เทคโนโลยีมาโตมาติด ได้รับพิจารณาในส่วนของวัตถุให้ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ Hardware ที่ใช้งานกับระบบชีวภาพ ในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ประจำปี ๒๕๓๘ รางวัลที่ ๑ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๘ ในงาน “จุฬา-ไฮเทค” ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดขึ้นเป็นวาระพิเศษในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
- รางวัลนักนิวเคลียร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๑ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
- นักบริหารดีเด่น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก