ราชบัณฑิต
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สำนักวิทยาศาสตร์
ประวัติการศึกษา
- วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.๒๔๙๙)
- ปริญญาโท สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา (พ.ศ.๒๕๐๓)
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
- ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิศวกรรมโยธา (พ.ศ.๒๕๔๙ – ปัจจุบัน) (ปัจจุบันรอการพิมพ์)
ประวัติการทำงานวิชาการ
- อาจารย์ประจำ และศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.๒๔๙๙ – ๒๕๒๑)
ประวัติการทำงานวิชาชีพ
- นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๘ และ พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๔๐)
- นายกสภาวิศวกร (คนแรกของประเทศไทย) (พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๖)
ประวัติการทำงานบริหาร
- ประธานบริษัท บริษัท อรุณ ชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ส จำกัด (พ.ศ.๒๕๒๒ – ปัจจุบัน)
- สมาชิกวุฒิสภา (พ.ศ.๒๕๓๙ – ๒๕๔๓)
ผลงานวิชาการ
- บรรยายทางวิชาการให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
- เขียนหนังสือวิชาการ สำหรับสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวนหลายเล่ม เช่น มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มาตรฐานสำหรับอาคารไม้ มาตรฐานสำหรับอาคารเหล็ก-รูปพรรณ มาตรฐานสำหรับอาคารวัสดุก่อ มาตรฐานป้องกันอัคคีภัย เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก การวิบัติของอาคาร สาเหตุและการแก้ไข อันตรายจากการก่อสร้างและ วิธีป้องกัน เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ และเสาเข็มไมโคร
ผลงานวิชาชีพ
- มีผลงานการออกแบบโครงสร้างและควบคุมงานก่อสร้างอาคาร ตลอดจนออกแบบการซ่อมแซมอาคารที่ ชำรุดเสียหาย รวมแล้วมากกว่า ๑,๐๐๐ โครงการ (ก่อนก่อตั้งบริษัทฯ จนถึงปัจจุบัน)
- ผลงานออกแบบโครงสร้างโครงการที่โดดเด่น เช่น อาคารเรียนของคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ หอสมุดกลาง สโมสรนักศึกษาฯ เป็นต้น) ใบหยกทาวเวอร์ ๑ ใบหยกทาวเวอร์ ๒ สนามราชมังคลากีฬาสถาน ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หอประชุมรัฐสภา(แห่งเก่า) โรงพิมพ์ธนบัตรแห่งที่ ๒ ธนาคารแห่งประเทศไทย อาคารสยามินทร์ (๑๐๐ ปี ศิริราช) เป็นต้น
ความเชี่ยวชาญ
- การคำนวณออกแบบอาคารสูงพิเศษ (โครงการใบหยกทาวเวอร์ ๒ ซึ่งเป็นอาคารสูง ๓๑๙ เมตร)
- การคำนวณออกแบบ และก่อสร้างหลังคาเปลือกบางด้วยคอนกรีต (หลังคาห้องประชุมรัฐสภาแห่งเก่าหลังคาห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหลังคาหอประชุม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น)
- การทำเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ด้วยมือ (อาคาร Park Beach Condominium อาคารสราญชล และ Sky Beach Prestige Condominium เป็นต้น)
- การใช้เทคนิคการก่อสร้างใหม่ๆ กับอาคารสูง (โครงการตึกช้าง)
- การก่อสร้างห้องใต้ดินลึกๆ โดยใช้ diaphragm walls และวิธีก่อสร้างแบบบนลงล่าง (top-down construction)
เกียรติคุณที่ได้รับ
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.๒๕๒๓)
- ศิษย์เก่าดีเด่น สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.๒๕๒๖)
- ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.๒๕๓๔)
- American Concrete Institute (ACI) awarded for Innovative Contributions as an ASEAN Outstanding Contributor to Concrete technology (พ.ศ.๒๕๓๗)
- ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (พ.ศ.๒๕๓๘)
- Prominent Thai Fulbrighter, ALL-TIME FAME, Fulbright Thailand’s Hall of Fame 2010, (พ.ศ.๒๕๔๒)
- Distinguished Honorary Fellow in CAFEO 25, ASEAN Federation of Engineering Organization, (พ.ศ.๒๕๕๐)
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (พ.ศ.๒๕๕๑)
- The 2008 Civil Alumnus Award, University of Illinois at Urbana-Champaign (พ.ศ.๒๕๕๑)
- เหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา (พ.ศ.๒๕๕๒)
- Outstanding Alumni Awards in Civil Engineering 19th March 2013, University of Illinois Alumni Association Thailand chapter (พ.ศ.๒๕๕๖)
- วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิศวกรรมการก่อสร้างและการจัดการ
- มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ (พ.ศ.๒๕๕๘)
- วิศวกรจุฬากิตติคุณอาวุโสดีเด่น สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.๒๕๖๒)
- CEE at Illinois Distinguished Alumni Ambassador Award 2019, University of Illinois at Urbana-Champaign (พ.ศ.๒๕๖๒)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- เครื่องราชอิสริยภรณ์ ระดับมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ.๒๕๕๒)
- เครื่องราชอิสริยภรณ์ ระดับมหาวชิรมงกุฏ (พ.ศ.๒๕๔๗)