ศาสตราจารย์กิตติคุณศักดา ศิริพันธุ์

ราชบัณฑิต

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ สาขาวิชาฟิสิกส์ ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สำนักวิทยาศาสตร์

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
  • ที่ปรึกษากรรมการบัญญัติศัพท์เทคโนโลยีทางภาพ
ประวัติการศึกษา
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (เคมี-ฟิสิกส์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๐๗
  • ประกาศนียบัตรวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่าย (วิชาแสงและโฟโตฟิสิกส์) สถาบันเทคโนโลยีแห่ง สมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ เมืองซูริก ประเทศสวิสเซอร์แลนด์, ๒๕๑๑-๒๕๑๓
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ทางภาพถ่าย โฟโตฟิสิกส์ การวัดสีและกระบวนการพิมพ์ ออฟเซตสี) สถาบันเทคโนโลยีรอเชสเตอร์ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา, ๒๕๑๔
  • ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วปอ. ๓๖๖, ๒๕๓๖
ประวัติการทำงาน
  • รองคณบดีฝ่ายวิจัย คนแรกของคณะวิทยาศาสตร์, ๒๕๒๒-๒๕๒๖
  • หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป, ๒๕๒๒-๒๕๒๖
  • คณบดีคณะวิทยาศาสตร์, ๒๕๓๘
  • เลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผลงาน
  • เป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการขอความร่วมมือจากรัฐบาลสวิสจนได้รับความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์การ ถ่ายภาพและการพิมพ์ ผู้เชี่ยวชาญและทุนฝึกอบรมที่สวิตเซอร์แลนด์ และได้จัดตั้ง Swiss Photography, Reproduction Photography & Printing Laboratory เป็นผลสำเร็จ, ๒๕๑๙-๒๕๒๕
  • เป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการก่อตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์คณะวิทยาศาสตร์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ คนแรก, ๒๕๒๗-๒๕๓๖
  • เป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, ๒๕๓๔-ปัจจุบัน
  • เป็นผู้ริเริ่มในการก่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ โดยร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมอัญมณีไทยและเครื่องประดับ และได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันตั้งแต่ ๙ กันยายน ๒๕๔๑–๒๕๔๖
  • เป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และสถาบันอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒
ตำรา
  • กษัตริย์กับกล้อง “วิวัฒนาการการถ่ายภาพในประเทศไทย ๒๓๘๘–๒๕๓๕.” บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๓๕.
  • ของดีเมืองเพชร. บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๓๙.
งานวิจัย
  • เรื่อง “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการเพิ่มคุณค่าและพัฒนาคุณภาพอัญมณีเพื่อการ แข่งขันในตลาดโลก (๒๕๓๗)” เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรป้องกันราชอาณา จักรภาครัฐร่วมเอกชนรุ่นที่ ๖, ๒๕๓๖
  • เรื่อง “ระบบสื่อสารเรื่องสีของอัญมณี” (A Gems Color Communication System)ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และได้นำเสนอผลงานวิจัยนี้ในการประชุมระหว่างชาติ ” 26th International Gemmological
    Conference ” ณ เมือง Idar Oberstein ประเทศเยอรมนี, ตุลาคม ๒๕๔๐
  • เรื่อง “การจัดชั้นหรือเกรดแซปไฟร์สีน้ำเงิน”
  • เรื่อง “การจัดชั้นหรือเกรดแซปไฟร์สีอื่น รวมทั้งมรกต”
    ฯลฯ
เกียรติคุณที่ได้รับ
  • ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งเป็น Hon. F. BPS (Honorary Fellow of Bangkok Photographic Society), ๒๕๒๔
  • รางวัล Prof. Raymond C. Bowman Award จาก Society of Photographic Scientists and Engineers (U.S.A.) ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีผลงานด้านวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายระดับนานาชาติ เป็นคนแรกของเอเชียและเป็นที่ ๔ ของโลก, ๒๕๒๘
  • รางวัลเงินทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช เรื่อง Notation of Thai Mural Painting Colours by means of Munsell and CIE Colour systems, ๒๕๓๓
  • โล่ประกาศเกียรติคุณจากมูลนิธิเงินทุนงานแสดงทางการพิมพ์แห่งประเทศไทย, ๒๕๓๓
  • ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งเป็น Hon. F.RPS (Honorary Fellow of The Royal Photographic Society of Great Britain เป็นคนที่สองในประเทศไทย, ๒๕๓๔
  • ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งเป็น Hon. F. SCC (Honorary Fellow of Siam Color Slide Club), ๒๕๓๔
  • ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็น Hon. F.PST (Honorary Fellow of Photographic Society of Thailand under The Royal Patronage), ๒๕๓๖
  • เกียรติบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย, ๒๕๓๖
  • ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งเป็น F.BIPP (Fellow of British Institute of Professional Photography) เป็นคนแรกในประเทศไทย, ๒๕๓๗
  • นิสิตเก่าดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘
  • การประกาศเกียรติคุณ และรางวัลเกียรติยศ เป็นบุคคลตัวอย่าง จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทยและหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ, ๒๕๔๑
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
ฐานข้อมูลวิชาการ