ราชบัณฑิต
- โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ สาขาวิชาสัตววิทยา ประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สำนักวิทยาศาสตร์
ประวัติการศึกษา
- กม.บ. (การประมง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๐๘
- ประกาศนียบัตร (อนุกรมวิธานปลา) สถาบันการประมงทะเลแห่งฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี, ๒๕๑๒
- ดุษฎีบัณฑิต ประกาศนียบัตรอิมพีเรียลคอลเลจ อนุกรมวิธานเชิงวิวัฒนาการของปลา
- มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ, ๒๕๒๓
- นักวิจัยหลังปริญญาเอก พิพิธภัณฑสถานแห่งออสเตรเลีย ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย, ๒๕๒๖
- นักวิจัยหลังปริญญาเอก สถาบันสมิทโซเนียน แห่งกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา, ๒๕๒๘–๒๕๒๙
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
- ประธานกรรมการจัดทำอนุกรมวิธานสัตว์ วาระ (พ.ศ. ๒๕๒๙ – ปัจจุบัน)
- ประธานกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สัตววิทยา (พ.ศ. ๒๕๕๑ – ปัจจุบัน)
- ผู้ช่วยบรรณาธิการวารสารราชบัณฑิตยสถาน
ประวัติการทำงานวิชาการ
- นักวิชาการประมง สถานีวิจัยประมงทะเล กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ๒๕๐๘-๒๕๒๓
- ศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๔-ปัจจุบัน
ผลงานวิชาการ
- เขียนคำอธิบายชื่อปลาหลายชนิด ใน อนุกรมวิธานสัตว์ อักษร ก ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๐.
- Carpenter, K.E. et al. “Living Marine Resources of Kuwait, Eastern Saudi Arabia, Bahrain, Qatar, and the United Arab Emirates” FAO Rome, 293 pp.(1997). คณะผู้เขียนได้รับข้อมูลและรูปวาดปลาหลังเขียว แมว และกะตัก รวม ๒๙ ชนิด.
- Wongratana, T. in Carpenter, R. E. and Niem, V. H. (eds.). “The living Marine Resources of the Western Central Pacific.” 6 Vols., FAO Rome. (1998-2001). ร่วมรับผิดชอบเฉพาะส่วนปลา กลุ่มหลังเขียว แมว และกะตัก. หน้า 1698-1821(1999)
- ตั้งชื่อปลาชนิดใหม่ของโลกรวม ๓๘ ชนิด
- ภาพวาดลายเส้นประกอบงานค้นคว้าวิจัยของปลาจำนวนมากกว่า ๓๐๐ ชนิด ที่ได้ใช้ประกอบงานวิจัย และอ้างใช้ในงานต่าง ๆ ทั่วลก โดยเฉพาะองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ, กรุงโรม ประเทศอิตาลี
- ฯลฯ
เกียรติคุณที่ได้รับ
- ปลาดาบเงินโบราณได้รับการตั้งชื่อว่า Trichiuridarum wongratanai, ๒๕๑๙
- ได้รับพระราชทานทุนจากมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อการศึกษาขั้นปริญญาเอก, ๒๕๒๑–๒๕๒๓
- วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกทางด้านทรัพยากรปลาแห่งสหประชาชาติ กรุงโรม ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานสำคัญประเภท “Vade Mecum”, ๒๕๒๘
- ปลากะตัก ชนิด Stolephorus dubiosus ได้รับการตั้งชื่อสามัญว่า Thosaporn’s Anchovy, ๒๕๓๑
- ได้รับ “Certificate in recognition of scholarly research” จากสถาบันสมิทโซเนียน กรุงวอชิงตัน, ๒๕๓๒
- ปลาทรายแดงชนิดใหม่ได้รับการตั้งชื่อว่า Nemipterus thosaporni, ๒๕๓๔
- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากสภาวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๓๗
- บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านชีววิทยา จากสภาวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๔๓
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก