ราชบัณฑิต
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สำนักวิทยาศาสตร์
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
- เลขานุการสำนัก วาระ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๑)
ประวัติการศึกษา
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๑๔)
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พยาธิวิทยาคลีนิก) มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๑๖)
- วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พยาธิชีววิทยา) มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๒๖)
ประวัติการทำงาน
- อาจารย์ประจำภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๑๖)
- คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๒๕)
- รองศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๒๔)
- ศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๓๖)
- ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๔๗)
- เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๒)
- กรรมการ Tissue Engineering and Regenerative Medicine International Society-Asia Pacific Council (TERMIS-AP Council) (พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๕๓)
- ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์กลุ่มวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดและวิศวกรรมเนื้อเยื่อ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๕)
- ประธานสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สภาวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๔)
- กรรมการ Asian Stem Cell Network ในกลุ่มประเทศทวีปเอเชีย (พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๕๓)
- ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบูลสงคราม (พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๕๘)
- ประธานมูลนิธิพัฒนายั่งยืน (พ.ศ. ๒๕๕๓-ปัจจุบัน)
ผลงานสำคัญ
งานวิจัย
- โครงการศึกษาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงในโรคธาลัสซีเมีย (พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๔๖)
- โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อมาตรฐานห้องปฏิบัติการชันสูตรแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๘)
- โครงการวิจัยเลี้ยงเซลล์บุหลอดเลือดและเซลล์กล้ามเนื้อเรียบเพื่อทำเป็นหลอดเลือดธรรมชาติ (พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๖)
- โครงการวิจัยพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดอ่อนสุด เพื่อการแพทย์ ทำให้ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์
- โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นศูนย์กลางของโครงการ ได้รับการสนับสนุนจากทุนวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล และทุนวิจัย ของสภาวิจัยแห่งชาติ เป็นโครงการต่อเนื่อง ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๗)
- โครงการวิจัยการสร้างเนื้อเยื่ออวัยวะ (วิศวกรรมเนื้อเยื่อ) จากเซลล์ต้นกำเนิดระยะมีเซนคราย เพื่อนำไปใช้ ประโยชน์ทางการแพทย์ (พ.ศ. ๒๕๔๗)
- โครงการวิจัยบูรณาการนำร่องเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษา (พ.ศ. ๒๕๔๗)
ตำราและบทความ
- การตรวจเลือดทางโลหิตวิทยา โดยเครื่องมือกล Hemalog
- โลหิตวิทยา เม็ดเลือดแดง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พับบลิชซิ่ง ๑๙๙๒
- การวิเคราะห์เม็ดเลือด ด้วยเครื่องมืออัตโนมัติ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พับบลิชซิ่ง ๑๙๙๓
งานเขียน
- ร่างกายของเรา เซลล์มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ หมอชาวบ้าน ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๒๙ พฤษภาคม ๑๙๙
- การวิจัย Stem cell เพื่อนำไปสู่การสร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะ Lab today ๒๐๐๑
- ธนาคารอวัยวะ ในหนังสือ โคลนนิ่งเทคโนโลยีสะท้านโลก หน้า ๗๙-๙๕ มูลนิธิบัณฑิตยสภา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ๒๐๑๑
- Look Asia: Stem cell and tissue engineering research in Thailand. (Invited article) 2(4)
- Japanese Society Regenerative Medicine. ๒๐๐๓
- เซลล์ต้นกำเนิด อะไหล่คนแก่ ในหนังสือ “กัน แก้ แก่” หน้า ๑๑๐-๑๓๒ มูลนิธิบัณฑิตยสภา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ๒๐๐๕
สิ่งประดิษฐ์
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับช่วยวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง ลิขสิทธิ์เลขที่ ๒๙๖๓๕ นักวิจัยอาวุโส สำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ๑๙๙๙
ความเชี่ยวชาญ
- เทคโนโลยีทางการแพทย์ เซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) วศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineering)
- การบริหารการวิจัยเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน (Research Management for People)
- โรคทางพันธุกรรมของ hemoglobin ในเม็ดเลือดแดง
- การเกษตรเพื่อสุขภาพ การใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
- การบริหารจัดการด้าน Precision Medicine Genome and Epigenetic Regenerative Medicine
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) พ.ศ. ๒๕๔๘
- มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.) พ.ศ. ๒๕๔๔