ศาสตราจารย์ ดร.อรัญ อินเจริญศักดิ์

ภาคีสมาชิก

แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๓ เมษายน  พ.ศ. ๒๕๖๒ สาขาวิขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ประเภทวิชาชีวเคมี สำนักวิทยาศาสตร์

ประวัติการศึกษา
  • ปริญญาตรี : B.Sc.(Biochemistry) Victoria University of Wellington พ.ศ. ๒๕๑๙
  • ปริญญาโท: วท.ม. (ชีวเคมี) มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๒๒
  • ปริญญาเอก: Ph.D. (Agricultural Science) Nagoya University พ.ศ. ๒๕๒๙
  • หลังปริญญาเอก : Nagoya University พ.ศ. ๒๕๓๕ Meijo University พ.ศ. ๒๕๔๕
ประวัติการทำงานวิชาการ
  • อาจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. ๒๕๑๙
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. ๒๕๓๐
  • รองศาสตราจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. ๒๕๓๓
  • ศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. ๒๕๔๙
  • ศาสตราจารย์ระดับ ๑๑ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. ๒๕๕๙
ประวัติการทำงานบริหาร
  • หัวหน้าภาควิชา ชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๔๗ – ๒๕๕๑
  • กรรมการบริหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๕๐ -๒๕๕๖
  • กรรมการสภา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๕๓- ๒๕๕๔
  • กรรมการบริหารบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๕๘- ๒๕๖๑
ผลงานวิชาการ
  • หนังสือต่างประเทศ ๙ เล่ม
  • บทความปริทัศน์ (Review article) ๖ เรื่อง
  • บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ที่มีค่า Impact Factor จำนวน ๑๒๔ บทความ
  • การถูกนำไปอ้างอิง (citation) จำนวน ๑๘๐๖ ครั้ง  ข้อมูลจาก Scopus วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒  h-index =  ๒๒ จำนวน ๒๗๘๓ ครั้ง ข้อมูลจาก Google Scholar วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒  h-index =  ๒๖
ความเชี่ยวชาญ
  • ชีวเคมีและเทคโนโลยีชีวภาพของจุลสาหร่าย
เกียรติคุณที่ได้รับ
  • เป็น Editor ของวารสาร ScienceAsia จนถึงปัจจุบัน
  • เป็น Associate Editor ของวารสาร BMC Microbiology จนถึงปัจจุบัน
  • เป็น Editorial Board ของวารสาร Frontiers in Environmental Science จนถึงปัจจุบัน
  • เป็น Review Editor ของวารสาร Frontiers in Plant Science จนถึงปัจจุบัน

๒๕๔๕      รางวัลผลงานวิจัยเรื่อง กลไกการทนความเค็มในไซยาโนแบคทีเรีย : การควบคุมผ่านออสโมโพรเทคแทนท์ และอิออนโฮมีโอสแตซิส (ระดับชมเชย) จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

๒๕๔๙      รางวัลผลงานวิจัยเรื่อง การนำสารประกอบอนินทรีย์และอินทรีย์ไนโตรเจนเข้าสู่ไซยาโนแบคทีเรีย อะฟาโนทิคิ  ฮาโลฟิทิกา ภายใต้สภาวะความเครียดออสโมติก (ระดับชมเชย )

๒๕๕๑       รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๒๕๕๒       รางวัลผลงานวิจัย เรื่องกลไกการรับสัญญาณฟอสเฟต ผ่านระบบการเหนี่ยวนำ ๒ องค์ประกอบ ในไซยาโนแบคทีเรีย (ระดับดี )

๒๕๕๓       รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานได้รับการอ้างอิงสูงสุด สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๒๕๕๗       รางวัลผลงานวิจัยเรื่อง การเพิ่มการผลิตไบโอไฮโดรเจนในไซยาโนแบคทีเรีย อนาบีนาไซอะเมนสิส โดยการปรับปรุงสภาวะสรีระวิทยา วิถีเมตาบอลิซึมและวิศวกรรมพันธุ์ศาสตร์ (ระดับดี )

๒๕๕๙            รางวัลผลงานวิจัยเรื่อง การเพิ่มการสะสมสารป้องกันแสงในจุลสาหร่ายที่คัดแยกได้ จากประเทศไทยภายใต้รังสียูวี(ระดับดีมาก)

๒๕๖๑            รางวัลผลงานวิจัยเรื่อง ศักยภาพของจุลสาหร่ายเพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (ระดับดีมาก )

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก  วันที่ ๕ เดือน ธันวาคม ปี ๒๕๕๔
  • มหาวชิรมงกุฎ             วันที่ ๕ เดือน ธันวาคม ปี ๒๕๔๙
ฐานข้อมูลวิชาการ