ราชบัณฑิต
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สาขาวิชาจุลชีววิทยา
ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สำนักวิทยาศาสตร์
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
- เลขานุการสำนักวิทยาศาสตร์ วาระ พ.ศ. ๒๕๖๒ – พ.ศ. ๒๕๖๔
- กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๘ – พ.ศ. ๒๕๖๒
- กรรมการ ในคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการสมาชิกราชบัณฑิตสภา พ.ศ. ๒๕๖๑ – พ.ศ. ๒๕๖๒
ประวัติการศึกษา
- วิทยาศาสตรบัณฑิต, จุลชีววิทยา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๑๗)
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุลชีววิทยา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๑๙)
- Doctor of Engineering, Fermentation Technology, Osaka University, Osaka, Japan, (พ.ศ. ๒๕๓๐)
ประวัติการทำงานวิชาการ
- อาจารย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๒๐ – พ.ศ. ๒๕๒๗)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๒๗ – พ.ศ. ๒๕๓๖)
- รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๓๖ – พ.ศ. ๒๕๔
- ศาสตราจารย์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๙ – ปัจจุบัน)
- ศาสตราจารย์อาคันตุกะ มหาวิทยาลัยโอซากา ประเทศญี่ปุ่น (๑ – ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๗)
ประวัติการทำงานวิชาชีพ
- กรรมการและเหรัญญิกสมาชิก สมาคมเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๒ – พ.ศ. ๒๕๔๖)
- กรรมการและเหรัญญิกสมาชิก สมาคมเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๓๘ – พ.ศ. ๒๕๓๙)
- กรรมการบริหาร สมาคมสารพิษจากเชื้อรา (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ปัจจุบัน)
- กองบรรณธิการ วารสาร Agriculture and Natural Resources (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และ Songklanakarin Journal of Science and Technology (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) วารสารในฐานข้อมูล Scopus (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ปัจจุบัน)
ประวัติการทำงานบริหาร
- หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๓๙ – พ.ศ. ๒๕๔๑)
- รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๗ – พ.ศ. ๒๕๔๙)
- ผู้รักษาราชการแทนคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๗ – พ.ศ. ๒๕๔๙)
- กรรมการดำเนินการ ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประธานสาขาจุลินทรีย์ (พ.ศ. ๒๕๕๑ – พ.ศ. ๒๕๕๓)
- กรรมการบริหารโครงการ New Core to Core Program (CCP) Advanced Research Networks ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานคณะกรรมกาวิจัยแห่งชาติ (NRCT) และองค์การส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (JSPS) (พ.ศ. ๒๕๕๗ – พ.ศ. ๒๕๖๓)
- หัวหน้าโครงการฝ่ายไทยของโครงการวิจัย เรื่อง Development of New Processes with Thermotolerant Microbes for Bio-refinery Including Biofuels, towards Utilization of ASEAN Biomass ภายใต้ e-ASIA Joint Research Program ได้รับการสนับสนุนจาก Japan Science and Technology Agency (พ.ศ. ๒๕๖๐ – พ.ศ. ๒๕๖๓)
ผลงานวิชาการ
- ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI และ Scopus มากกว่า ๑๔๐ เรื่อง
- หนังสือ: สาวิตรี ลิ่มทอง ๒๕๔๙ ยีสต์: ความหลากหลายและเทคโนโลยีชีวภาพ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๖๑๑ หน้า
- บท ในหนังสือหรือตำรา (book chapter): ภาษาไทย ๓ บท และภาษาอังกฤษ ๒ บท
- สิทธิบัตรเรื่อง Thermotolerant ethanol-producing yeast and ethanol production method utilizing the same จดในประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๕๕)
เกียรติคุณที่ได้รับ
- เมธีวิจัยอาวุโส สกว พ.ศ. ๒๕๕๔ (พ.ศ. ๒๕๕๔ – พ.ศ. ๒๕๕๖) และ พ.ศ. ๒๕๖๐ (พ.ศ. ๒๕๖๐ –พ.ศ. ๒๕๖๓) จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว)
- นิสิตเก่าดีเด่น ประเภทนักวิชาการ จากสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพระบรม-ราชูปถัมภ์ ประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๙
- Osaka University Global Alumni Fellow จากมหาวิทยาลัยโอซากา ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๖๒
- นิสิตเก่าดีเด่น ผู้ประสบความสำเร็จ จากสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำ พ.ศ. ๒๕๖๒
- บุคลากรดีเด่นสายวิชาการ ด้านการวิจัยและนวัตกรรม สายวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗
- รางวัลอายิโนะโมะโตะ จากมูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะร่วมกับสมาคมเทคโนโลยีชีภาพแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑
- รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารมาตรฐานสากลสูงสุดในรอบ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๗ – พ.ศ.๒๕๕๑) สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- รางวัลผลงานวิจัยที่มีค่าการอ้างอิงรวมสูงสุด จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗
- โล่รางวัลผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติ (ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Science Citation Index Expanded) ต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ – ปัจจุบัน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- มหาวชิรมงกุฎ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๗