ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สายสมร ลำยอง

ภาคีสมาชิก

แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติ
ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และสัตวแพทย์ศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์

ประวัติการศึกษา
  • ปริญญาตรี เกษตรศาสตร์ (อารักขาพืช), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย, ปีการศึกษา ๒๕๑๔
  • ปริญญาโท จุลชีววิทยา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย, ปีการศึกษา ๒๕๑๘
  • ปริญญาเอก Agricultural (Applied Microbiology), Hokkaido University, Sapporo, Japan ปีการศึกษา ๒๕๓๖
ประวัติการทำงานวิชาการ
  • ตำแหน่ง อาจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๑๘ – พ.ศ.๒๕๒๒)
  • ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๒๒ – พ.ศ. ๒๕๓๒)
  • ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๓๒ – พ.ศ. ๒๕๔๙)
  • ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๔๙ – ปัจจุบัน)
ผลงานวิชาการ

ผลงานตีพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๙ – ถึงปัจจุบัน มีจำนวน ๓๒๙ เรื่อง ในวารสารต่างประเทศทั้งหมด มีค่า H-index เท่ากับ ๓๗ โดยมีผลงานเด่นดังนี้

๑. การเกิดดอกเห็ดตับเต่าดำในห้องปฏิบัติการครั้งแรกของโลก โดยได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านราวิทยาประจำปี ๒๕๕๐ ในงานฉลองครบรอบ ๓๐๐ ปี The Linnaeus โดยได้รับประกาศเกียรติคุณจาก สมเด็จพระราชินีนาถ วิกตอเรีย แห่งสวีเดน (Queen Vivtoria) และได้บ่งบอกสถานะเห็ดตับเต่าดำ เพื่อกำหนดการเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่าดำแบบไม่ใช้พืชอาศัยได้เป็นครั้งแรกของโลก

๒. การค้นพบเห็ดทรัฟเฟิลขาวครั้งแรกในประเทศไทย โดยเป็นการค้นพบครั้งแรกในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจำนวน ๓ ชนิดที่พบ และพบว่าเป็นชนิดใหม่จำนวน ๒ ชนิด คือ Tuber thailandicum (ทรัฟเฟิลขาวเทพสุคนธ์) ซึ่งได้รับชื่อสามัญพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ และ Tuber lannaense (ทรัฟเฟิลขาวล้านนา) ซึ่งอีกชนิดเป็นการรายงานใหม่ในประเทศไทยโดยเป็นการค้นพบเห็ดทรัฟเฟิลขาวอิตาเลียน T. magnatum ครั้งแรกในเอเชีย โดยได้ตีพิมพ์ผลงานในวารสารต่างประเทศด้านราวิทยาระดับโลก

ความเชี่ยวชาญ
  • การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์ (เห็ดราขนาดใหญ่ และแอคติโนแบคทีเรีย) ด้วยการจัดจำแนกตามแบบอนุกรวิธาน และเทคนิคอณูชีวิทยาร่วม
  • การประยุกต์งานวิจัยกับระบบการเกษตร อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
เกียรติคุณที่ได้รับ
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ได้รับแต่งตั้ง วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • มหาวชิรมงกุฏ (มวม) ปีที่ได้รับ ๒๕๔๖
  • มหาปรมาภรณ์ ช้างเผือก (มปช) ปีที่ได้รับ ๒๕๕๑
เหรียญราชอิสริยาภรณ์
  • เหรียญดุษฏีมาลา เข็มศิลปวิชา ปีที่ได้รับ ๒๕๖๑
ฐานข้อมูลวิชาการ