ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ราชบัณฑิต

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ สาขาวิชาวิศวกรรมและเทคโนลียีเคมี
ประเภทวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์

ประวัติการศึกษา
  • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเคมี Kyoto University ประเทศญี่ปุ่น ๒๕๑๖
  • ปริญญาโท สาขาวิศวกรรมเคมี University of Texas at Austin สหรัฐอเมริกา ๒๕๑๘
  • ปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมเคมี University of Texas at Austin สหรัฐอเมริกา ๒๕๒๑
ตำแหน่งทางวิชาการ, ตำแหน่งบริหาร, ตำแหน่งทางราชการ และอื่น ๆ

ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา, ศาสตราจารย์กิตติคุณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ Tokyo Institute of Technology, Tokyo, Japan. ที่ปรึกษาเทคโนโลยี บริษัทเอสซีจีเคมิคอลส์ จำกัด, อุปนายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), กรรมการสภา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ประวัติการทำงานวิชาการ
  • อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๒๑ – พ.ศ. ๒๕๒๓)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๒๓ – พ.ศ. ๒๕๒๖)
  • รองศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๒๖ – พ.ศ. ๒๕๓๖)
  • ศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๖ – พ.ศ. ๒๕๔๗)
  • ศาสตราจารย์ บัณฑิตวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนลียี Tokyo Institute of Technology, Tokyo, Japan (พ.ศ. ๒๕๕๔ – พ.ศ. ๒๕๕๘)
ประวัติการทำงานวิชาชีพ
  • ที่ปรึกษาอาวุโสด้านวิจัย บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (พ.ศ. ๒๕๕๑ – พ.ศ. ๒๕๕๔)
  • ที่ปรึกษาเทคโนโลยี บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ปัจจุบัน)
ประวัติการทำงานบริหาร
  • รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๔ – พ.ศ. ๒๕๔๘)
  • นายกสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๖ – พ.ศ. ๒๕๔๗)
  • หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๙ – พ.ศ. ๒๕๕๑)
  • นายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) (สสท.) (พ.ศ. ๒๕๕๒ – พ.ศ. ๒๕๕๔)
  • ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๗ – พ.ศ. ๒๕๕๑)
ผลงานวิชาการ

งานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ/นานาชาติ (มากกว่า ๑๕๐ บทความ) อาทิ

  • Convective Diffusional Deposition and Collection Efficiency of Aerosol on a Dust-Loaded Fiber, AIChE Journal, Vol.29, No.6, pp.895-902, 1983.
  • Weeraya Sae-lim, Wiwut Tanthapanichakoon and Chikao Kanaoka, “Structural improvement to quadruple service life of a high-efficiency electret filter”, Science and Technology of Advanced Materials, Volume 6, Issues 3-4, pp. 307-311, 2005

ตำราและหนังสือ (มากกว่า ๒๐ รายการ) อาทิ

  • อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนในอุตสาหกรรม, ส. เอเชียเพรส ๒๕๓๖
  • มลภาวะอากาศ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๒๕๔๒
  • เทคโนโลยีอบแห้งในอุตสาหกรรมอาหาร, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ๒๕๔๘ งานวิจัย (รายงานฉบับสมบูรณ์ ๒๕ โครงการ) อาทิ
  • การสังเคราะห์เมทธานอลจากก๊าซสังเคราะห์, ๒๕๒๘
  • เครื่องทดสอบขอบเขตการระเบิดของฝุ่นผง, ๒๕๓๙
ผลงานวิชาชีพ
  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ “ระบบดักจับฝุ่นละเอียดแบบชั้นวัสดุกรองที่ขึ้นรูปโดยธรรมชาติ”
  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ “การผลิตวัสดุรูปทรงกลมที่มีรูพรุนจากสารประกอบของเซลลูโลส”
  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ “การผลิตจุลผลึกเซลลูโลสจากสารประกอบของเซลลูโลสที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ”
ความเชี่ยวชาญ
  • วิศวกรรมและเทคโนลียีเคมี รวมถึง เทคโนโลยีผง/อนุภาค วิศวกรรมแอโรซอล (เทคโนโลยีการจับฝุ่น) การวิเคราะห์และจำลองกระบวนการ (การสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ การจำลองและการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการวิศวกรรมเคมี) เทคโนโลยีการอบแห้ง เทคโนโลยีพลังงาน นาโนเทคโนโลยี วิศวกรรมปฏิกิริยาเคมี
เกียรติคุณที่ได้รับ
  • เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๒
  • รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๑
  • รางวัล “Most Excellent Paper” in Session on Terrestrial Applications, 6th International Heat Pipe Symposium เชียงใหม่ ประเทศไทย ๒๕๔๓
  • บุคลากรดีเด่นด้านวิชาการ ระดับมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๕
  • เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๘
  • ศาสตราจารย์กิตติคุณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๘ – ปัจจุบัน)
  • ASEAN Outstanding Engineering Achievements Award จาก ASEAN Federation of Engineering Organizations (๒ ธันวาคม ๒๕๕๓)
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ Tokyo Institute of Technology, Tokyo, Japan (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์/เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. ๒๕๔๕)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. ๒๕๓๗)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of the Rising Sun, Gold Rays with Neck Ribbon ประเทศญี่ปุ่น (๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙)
ฐานข้อมูลวิชาการ