ศาสตราจารย์ ดร.ปารเมศ ชุติมา

ภาคีสมาชิก   

แต่งตั้งเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 สาขาวิชาวิศวกรรมระบบผลิต ประเภทวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
  • กรรมการในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิศวกรรมอุตสาหการ
ประวัติการศึกษา
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ไฟฟ้า) เกียรตินิยม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๙
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ไฟฟ้า), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๔
  • M.Eng. (Industrial Engineering & Management, Asian Institute of Technology, ๒๕๓๓
  • Ph.D. (Manufacturing Engineering and Operations Management), Nottingham University, UK, ๒๕๓๘
ผลงานสำคัญ
ตำรา
  • ปารเมศ ชุติมา “ระบบผลิตแบบยืดหยุ่น” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔
  • ปารเมศ ชุติมา “การออกแบบการทดลองในงานวิศวกรรม” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕
  • ปารเมศ ชุติมา “เทคนิคการจัดตารางการดำเนินงาน” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๖
  • ปารเมศ ชุติมา “เทคนิคการจัดตารางในอุตสาหกรรม” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑
  • ปารเมศ ชุติมา “ระบบสารสนเทศและระบบอัตโนมัติทางการผลิตในอุตสาหกรรม” หน่วยที่ 14: การจัดการ ระบบอัตโนมัติทางการผลิตในอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๓
  • ปารเมศ ชุติมา “เทคนิคการจัดตารางการดำเนินงาน (ฉบับปรับปรุง)” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๕
ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ

ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล ISI และ Scopus ในฐานะผู้รับผิดชอบบทความ ๒๒ เรื่อง เช่น

  • Sirovetnukul, R. and Chutima, P., 2010. The Impact of Walking Time on U-shaped Assembly Line Worker Allocation Problems, Engineering Journal, 14(2), 53-78.
  • Chutima, P. and Chimklai, P., 2012. Multi-objective two-sided mixed-model assembly line balancing using particle swam optimisation with negative knowledge, Computers & Industrial Engineering, 62, 39-55.
  • Chutima, P. and Sirovetnukul, R., 2013. An application of particle swarm optimisation with negative knowledge on multi-objective U-shaped assembly line worker allocation problems. International Journal of Industrial and Systems Engineering, 14(2), 139-174.
  • Chutima, P. and Naruemitwong, W., 2014. A Multi-Objective biogeography-based optimization for two-sided assembly line sequencing problems with a learning effect. Computers & Industrial Engineering, 69, 89-104.
เกียรติคุณ
  • รางวัลบทความดีเด่น การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, ๒๕๔๘
  • รางวัลชมเชย การนำวิธีการทางวิศวกรรมอุตสาหการไปประยุกต์ใช้ดีเลิศ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๐
  • รางวัลบทความดีเด่น การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๕๒
  • รางวัลรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๘
  • รางวัลศักดิ์อินทาเนีย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๘
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมภรณ์ช้างเผือก, ๒๕๕๓
ฐานข้อมูลวิชาการ