ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุธรรม อารีกุล

ราชบัณฑิต

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๒ สาขาวิชาสัตววิทยา ประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สำนักวิทยาศาสตร์

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
  • ประธานคณะกรรมการจัดทำอนุกรมวิธานสัตว์
  • ประธานคณะกรรมการบัญญัติศัพท์สัตววิทยา
ประวัติการศึกษา
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากสิกรรมและสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๔๙๖
  • ปริญญาโท สาขากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยออริกอนสเตต สหรัฐอเมริกา, ๒๔๙๙
  • ปริญญาเอก สาขากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตันสเตต สหรัฐอเมริกา, ๒๕๐๒
ประวัติการทำงาน
  • ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑, ๒๕๒๕-๒๕๓๕
  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๒๙-๒๕๓๕
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๒๙–๒๕๓๕
  • กรรมการ อกม. วิสามัญเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการ ทบวงมหาวิทยาลัย, ๒๕๒๙–๒๕๓๕
  • กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, ๒๕๒๙–๒๕๓๕
  • กรรมการประจำโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี, ๒๕๒๙–๒๕๓๕
  • กรรมการอำนวยการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, ๒๕๒๙–๒๕๓๕
ผลงานวิชาการ
  • ความรู้เกษตรศาสตร์จากต่างประเทศกับการพัฒนาการเกษตรไทย ในบทบาทของต่างประเทศในการ สร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๓๘.
  • อุดมศึกษาไทย : วิกฤตและทางออก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๐.
  • Remarks on the future projections of higher education in Thailand. USAID Report of the Conference on Agricultural Higher Education, Washington DC. p. 79-85 : 1988.
  • The role of university in information dissemination to national and international extension systems. The Tenth Meeting in Commenmoration of the 20th Anniversary of FFTC. Publication no. 569 : 59-78 : 1990.
ตำรา
  • บทปฏิบัติการกีฏวิทยาเบื้องต้น
  • มวนที่สำคัญของประเทศไทย
  • แมลงศัตรูข้าวโพดของประเทศไทย
  • สารบท แมลงศัตรูสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
บทความ
  • “การลดการใช้สารพิษปราบศัตรูพืชเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม.” สารศิริราช ๔๘ (ฉบับผนวก) : ๑๐๕-๑๑๗ : ๒๕๓๙.
  • “Effects of Thai Plant extracts on the oriental fruit fly. III. Attractancy test.” Kasetsart Jour. 22 (2) : 160-164 : 1988.
เกียรติคุณที่ได้รับ
  • ดร. C.H. Martin แห่งรัฐแอริโซนา ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของแมลงชนิดหนึ่ง ซึ่งค้นพบใหม่ให้เป็น เกียรติตามชื่อสกุล คือ Ammophihlominma areekuli, ๒๕๑๗
  • นักวิจัยดีเด่นในเรื่องการวิจัยและการสอนทางกีฏวิทยาจากสมาคมวิทยาศาสตร์
  • การเกษตรแห่งประเทศไทย, ๒๕๑๙
  • ประกาศนียบัตรรางวัลชมเชยในผลงานวิจัยเรื่องการทดลองวิธีเลี้ยงแตนเบียฬไตรโครแกรมมา
  • เพื่อปราบศัตรูพืช จากสภาวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๑๙
  • นักวิจัยดีเด่นสาขาพืช ในเรื่องการเจริญเติบโตและผลผลิตไพเรทรัมที่ปลูก ณ ดอยอ่างขาง จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๒๑
  • เกียรติบัตรแห่งคำนิยม (Certificate of Appreciation) จากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา, ในฐานะที่ได้ทำการวิจัยและผลิตผลงานที่สมบูรณ์แบบอันก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการในผลงานวิจัยเรื่อง ไพเรทรัม, ๒๕๒๕
  • เกียรติบัตรแห่งคำนิยม (Certificate of Appreciation) จากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกาในฐานะที่ได้ประสบผลสำเร็จในการวิจัยเกี่ยวกับผึ้งโพรงไทย และแมลงผสมเกสรในพื้นที่เกษตรที่สูงของไทย, ๒๕๒๖
  • นิสิตเก่าดีเด่น Washington State University Alumni Award จากสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยวอชิงตันสเตต สหรัฐอเมริกา ในฐานะที่มีผลงานดีเด่น ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทั้งทางวิชาการและการพัฒนาในวงการเกษตร นำชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัย และประเทศชาติอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอน, ๒๕๒๖
  • ผลงานวิจัยดีเยี่ยม ในเรื่องการวิจัยเพื่อค้นหาพืชของไทยที่มีคุณสมบัติในการป้องกันและกำจัดแมลงวันทอง จากสภาวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๒๙
  • ศาสตราจารย์กิตติคุณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๒๙–๒๕๓๕
  • ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ทำคุณประโยชน์ในวงวิชาการทางกีฏวิทยา จากสมาคมกีฏวิทยาและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๐
  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากสภาวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๓๑
  • นักกีฏวิทยาดีเด่น จากสมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๐
  • วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๘
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
ฐานข้อมูลวิชาการ