ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้

ราชบัณฑิต

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สาขาวิชาชีววิทยา ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สำนักวิทยาศาสตร์

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
  • ประธานคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์พันธุศาสตร์ วาระ (พ.ศ. ๒๕๕๓ – ปัจจุบัน)
  • คณะกรรมการกลางพิจารณาศัพท์บัญญัติที่บัญญัติต่างกัน วาระ (พ.ศ. ๒๕๕๐ – พ.ศ. ๒๕๕๓)
  • คณะกรรมการพิจารณาการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ราชบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๑
  • คณะกรรมการกลางกลั่นกรองรายชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
  • คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเป็นราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๗
  • คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเป็นภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖
  • ที่ปรึกษากลุ่มงานส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย และเรียบเรียงเอกสารทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๔๔
ประวัติการศึกษา
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) (สัตววิทยา) มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย, ๒๕๐๙
  • ปริญญาเอก (พันธุศาสตร์) มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย, ๒๕๑๒
ประวัติการทำงานวิชาการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๘ – พ.ศ. ๒๕๒๑
  • รองศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๒๑ – พ.ศ. ๒๕๒๔
  • ศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๒๔ – พ.ศ. ๒๕๓๒
  • ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๒ – พ.ศ. ๒๕๔๕
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๔๕ – ปัจจุบัน
ประวัติการทำงานบริหาร
  • หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๘ – พ.ศ. ๒๕๓๔
  • ผู้อำนวยการ โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๘ – พ.ศ. ๒๕๕๔
ผลงานวิชาการ

– ตำราและหนังสือ เช่น

  • สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย, พ.ศ. ๒๕๓๘
  • แปลและเรียบเรียงหนังสือเรื่อง พจนานุกรมธรรมชาติ, พ.ศ. ๒๕๔๓
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม และสังคมไทย, พ.ศ. ๒๕๔๘
  • ทำไมต้องทำวิจัยพื้นฐาน, พ.ศ. ๒๕๕๓

บทความวิชาการภาษาไทย ๙๕ เรื่อง และนานาชาติ ๑๙๐ เรื่อง เช่น

  • วิสุทธิ์ ใบไม้ ๒๕๕๐. ธรรมชาติกับวัฒนธรรมและสังคมไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์ วารสาร ศาสนาและวัฒนธรรมปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ : ๓-๓๓
  • วิสุทธิ์ ใบไม้ ๒๕๕๙ การอนุรักษ์ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ. วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๙) : ๑๓๕- ๑๕๐
  • Baimai, V. 1988. Population cytogenetics of the malaria vector Anopheles leucosphyrus group. Southeast Asian. J. Trop. Med. Pub. Hlth. 19:667-680
  • Baimai. V. 1998. Heterochromatin accumulation and karyotypic evolution in some dipteran insects. Zool. Stud. 37:75-88

ความเชี่ยวชาญ

  • ชีววิทยา พันธุศาสตร์ วิวัฒนาการ ความหลากหลายทางชีวภาพ
เกียรติคุณที่ได้รับ
  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, พ.ศ. ๒๕๒๙
  • นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาพันธุศาสตร์ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์, พ.ศ. ๒๕๓๓
  • เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๘
  • วิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, พ.ศ. ๒๕๓๙
  • รางวัลปาฐกถาสุด แสงวิเชียร ประจำปี ๒๕๓๙ คณะแพทศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, พ.ศ. ๒๕๓๙
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ พ.ศ. ๒๕๓๒
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๓๗
ฐานข้อมูลวิชาการ