ราชบัณฑิต
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สำนักวิทยาศาสตร์
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
- เลขาสำนักวิทยาศาสตร์ วาระ (พ.ศ. 2554- พ.ศ. 2557)
- ประธานกรรมการคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์เภสัชศาสตร์ วาระ (พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน)
- กรรมการคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การอาหาร วาระ (พ.ศ. 2560 – วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561)
- ประธานกรรมการคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การอาหาร วาระ ( ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน)
- ประธานกรรมการคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์ประสาทสัมผัส วาระ (พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน)
- ประธานกรรมการคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สารและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ วาระ (พ.ศ. 2551 –ปัจจุบัน)
ประวัติการศึกษา
- ประกาศนียบัตรการแพทย์แผนจีน วิทยาลัยการแพทย์แผนจีนแห่งกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน, ๒๕๒๒
- ประกาศนียบัตรเภสัชกรรมแผนโบราณ สมาคมแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, ๒๕๒๔
- เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๒๔
- Doctor of Philosophy (Natural Product Chemistry and Pharmacognosy) มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต สหรัฐอเมริกา, ๒๕๓๒
ตำแหน่ง
- อาจารย์ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์และเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๓๒
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์และเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๓๙
- รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์และเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๔๗
- หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์และเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- กรรมการในคณะกรรมการจัดทำตำรายาของประเทศไทย (ในฐานะผู้แทนสมาคมสมุนไพรแห่งประเทศไทย)
- อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการจัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพิจารณาขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข
- อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพิจารณาขึ้นทะเบียนยาพัฒนาจากสมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ผลงานสำคัญ
งานวิจัย
- ชยันต์ พิเชียรสุนทร และวิเชียร จีรวงส์. “ที่มาของคำ ‘โกษฐ์’ และโกษฐ์ที่ใช้ในยาไทย.”วารสารราชบัณฑิตยสถาน
๒๕๔๖; ๒๘ (๑): ๑๑๘-๒๔. - ชยันต์ พิเชียรสุนทร และวิเชียร จีรวงส์. “แหล่งทางพฤกษศาสตร์ของเทียนเยาวพาณี.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน
๒๕๔๖; ๒๘ (๓): ๗๔๖-๕๖. - ชยันต์ พิเชียรสุนทร และณัฐพงษ์ วิชัย. “แหล่งทางพฤกษศาสตร์ของจันทน์แดง.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๗; ๒๙ (๑): ๒๕-๓๔.
ตำรา
- ชยันต์ พิเชียรสุนทร (ผู้แปลและเรียบเรียง). คู่มือสุขภาพประจำบ้าน. (จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ The essential family guide to conventional and complementary medicine โดย Dr. David Peters บรรณาธิการที่ปรึกษา). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คลินิกสุขภาพ, ๒๕๔๕.
- พรรณี ปิติสุทธิธรรม และชยันต์ พิเชียรสุนทร (บรรณาธิการ). ตำราวิทยาวัคซีน ว่าด้วยวัคซีนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๖.
บทความ
- ชยันต์ พิเชียรสุนทร และวิเชียร จีรวงส์. “ภูมิปัญญาไทยด้านการใช้สมุนไพร.” ในราชบัณฑิตยสถาน, กระทรวงศึกษาธิการ และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มหาวิทยาลัยศิลปากร การสัมมนาโครงการปราชญ์เพื่อแผ่นดิน ครั้งที่ ๒ เรื่อง ฐานปัญญาไทยในโลกสากล ๒๕๔๓. หน้า ๑๘๓-๒๑๖.
- ชยันต์ พิเชียรสุนทร, สมชัย บวรกิตติ และวิเชียร จีรวงส์. “พฤกษโอสถ.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๕;๒๗ (ฉบับพิเศษ) : ๖๓๙-๖๖๒.
- ชยันต์ พิเชียรสุนทร และสมชัย บวรกิตติ. “ภูมิปัญญาไทยทางการแพทย์.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๖;๒๘ (๔) : ๑๒๔๑-๑๒๖๐.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ประถมาภรณ์มงกุฎไทย