ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สันทัด โรจนสุนทร

ราชบัณฑิต

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ประยุกต์ สำนักวิทยาศาสตร์

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
  • นายก วาระ (พ.ศ. ๒๕๕๖ – พ.ศ. ๒๕๕๘)
  • อุปนายกคนที่ ๒ วาระ (พ.ศ. ๒๕๕๔ – พ.ศ. ๒๕๕๖)
  • ประธานสำนัก วาระ (พ.ศ. ๒๕๕๐ – พ.ศ. ๒๕๕๒)
  • ประธานโครงการอาศรมความคิดด้านอาหาร สำนักวิทยาศาสตร์ วาระ (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ปัจจุบัน)
  • ประธานคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์ วาระ (พ.ศ. ๒๕๕๑ – พ.ศ. ๒๕๖๐)
  • ประธานคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การอาหาร วาระ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – พ.ศ. ๒๕๖๑)
  • กรรมการและที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การอาหาร วาระ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ปัจจุบัน)
  • ประธานกรรมการพจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์ในคณะวิทยาศาสตร์ (พ.ศ.๒๕๕๑ – พ.ศ.๒๕๕๗) จัดพิมพ์พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์เนื่องจากในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ (บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) )
  • ประธานอนุกรรมการศัพท์ธรณีวิทยาโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนาธรรมแห่งสหประชาขาติ (UNESCO) ได้ออกหนังสือมา ๑ เล่มเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๐ ก่อนจะมีคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ธรณีวิทยา
  • ประธานอาศรมความคิดเกี่ยวกับอาหารเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยคณะวิทยาศาสตร์มีงบประมาณจัดการประชุมทุกปีโดยมี ๔ อาศรมความคิดได้แก่ วิทยาศาสตร์อาหารสิ่งแวดล้อมพลังงานและสุขภาพโดยเน้นเรื่องที่ประชาชนสนใจ เช่น เรื่อง GMO, เรื่องมลภาวะอากาศกับผลกระทบสุขภาพ เป็นต้น
  • ประธานศัพท์เกี่ยวกับอาหารเมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๐ – พ.ศ.๒๕๖๑ และเป็นที่ปรึกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เมื่อเสร็จจากปฐพีศาสตร์ใช้งบประมาณของปฐพีศาสตร์โดยประชุมเรื่องอาหารจนในปัจจุบันวิทยาศาสตร์อาหารมีงบประมาณเป็นของตัวเอง
ประวัติการศึกษา
  • B.Sc. (Geology) มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Columbo Plan scholarship), ๒๕๐๑
  • M.S. (Soil Science) มหาวิทยาลัยออริกอนสเตต (US-AID scholarship), ๒๕๐๕
  • Ph.D. (Soil Science) มหาวิทยาลัยออริกอนสเตต (Rockefeller scholarship), ๒๕๑๔
  • ปริญญาบัตรหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ ๑ (วปรอ ๓๑๑) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ๒๕๓๑
ประวัติการทำงานวิชาการ บริหาร และวิชาชีพ
  • อาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา และผู้ช่วยคณบดี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (นาวาอากาศโททินกร พันธ์กระวี),๒๕๒๔ – ๒๕๒๖
  • ประธานสภามนตรีกลุ่มสมาคมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ๒๕๓๐ – ๒๕๓๑
  • ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๓
  • ประธานบริหารสายงานเทคโนโลยี วางแผนและพัฒนา กลุ่มบริษัท เอส.ที.ซี., ๒๕๓๗
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ), ๒๕๒๘ -๒๕๔๑
  • ผู้จัดการมูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ, ๒๕๓๕
  • ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๔๕
  • ประธานมูลนิธิวิทยาศาสตร์การเกษตร, ๒๕๔๓ – ปัจจุบัน
  • กรรมการมูลนิธิสวนหลวง ร.๙, ๒๕๔๓ – ปัจจุบัน
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช),๒๕๕๑ – ๒๕๕๕
  • นายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔
  • ในฐานะอาจารย์สร้างสระว่ายน้ำจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์เพื่อการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ ๑๓ พร้อมทั้งสร้างอัฒจรรย์และสระกระโดด
  • ในฐานะผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยทำให้โรงเรียนไทยรัฐวิทยาที่ ๗๔ อยู่ใน ที่ ๆ ควรจะเป็นและชาวบ้านไม่อพยพไปไหน
  • สร้างศูนย์ศิลปาชีพพิเศษด้วยอิฐดินซีเมนต์เพื่อทำเครื่องปั้นดินเผาที่แม่ต๋ำลำปาง และที่หน้าพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
  • สร้างโบสถ์แม่ต๋ำเป็นแห่งแรกในโลกด้วยอิฐดินซีเมนต์
  • ในฐานะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เข้าไปช่วยงาน”โครงการแกล้งดิน” จนสำเร็จเป็นโครงการแรกของโลก และช่วยให้โครงการฝิ่นที่สูงทำได้สำเร็จโดยปลูกพืชทดแทนฝิ่นจนขณะนี้ชาวเขาไม่ปลูกฝิ่นแล้วซึ่งเป็นโครงการเดียวในโลกที่ทำสำเร็จ
  • ได้นำตัวแทนจากสหพันธ์ดินโลก ขอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๕ เพื่อถวายเหรียญเกียรติยศและถวายพระราชสมัญญานามว่า “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” พร้อมทั้งขอให้วันที่ ๕ ธันวาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เป็นวันดินโลก โดยองค์การสหประชาชาติประกาศรับรองเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ และได้ทราบว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ให้ประกาศเป็นวันกษัตริย์ไทยด้วย
  • ในฐานะประธานมูลนิธิวิทยาศาสตร์การเกษตรและเบทาโกรได้ทำหนังสือเป็นที่ระลึกในการถวายพระเพลิงของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เรื่อง ขาดทุนคือกำไร โดยพิมพ์แจก ๒๐,๐๐๐ เล่ม เมื่อปี ๒๕๖๐ (จะเป็นเรื่องของโครงการหลวงเป็นส่วนใหญ่)
  • ในฐานะนักเรียน วปอ. ได้มีการเติมเทคโนโลยี หลังจากที่ได้บรรยายอยู่ ๑๐ ปี ปัจจุบันได้มีการเติมเทคโนโลยีเข้าไปเป็นพลังของชาติ รวมเป็น ๕ หน่วย คือ การเมือง เศรษฐกิจ การทหาร สังคมวิทยา และได้เติมเทคโนโลยี ไว้เป็นอันสุดท้าย (เติมเมื่อพลเอก จรัล กุลละวณิชย์ เป็นประธานกรรมการความมั่นคงแห่งชาติ)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัตนาภรณ์ ชั้น ๓
ฐานข้อมูลวิชาการ